ปัจจัยและพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่มีและไม่มีภาวะแทรกซ้อน

ผู้แต่ง

  • suthid Boonrueang Mahidol University

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2, พฤติกรรมการป้องกัน, ภาวะแทรกซ้อน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical research) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยและพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนระหว่างผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2ที่มีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เข้ารับบริการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลบางกระทุ่ม  จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 273  คน เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 91  คน และไม่มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน  182 คน (อัตราส่วน 1:2)เก็บรวบรวมข้อมูลโดยสัมภาษณ์และรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ พิสัย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square) และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  (1) กลุ่มมีภาวะแทรกซ้อนอัตราส่วนหญิง : ชาย เท่ากับ 3.8 : 1  อายุเฉลี่ย  63.6  ปี  ไม่ได้ประกอบอาชีพร้อยละ 48.4  รายได้ครอบครัวเฉลี่ย  7,655.78  บาท/เดือน  มีโรคร่วมร้อยละ  91.2ระยะเวลาเฉลี่ยของการเป็นโรคเบาหวาน7.4  ปี  และมีการรับรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนในระดับมากร้อยละ  95.6(2) กลุ่มไม่มีภาวะแทรกซ้อนอัตราส่วนหญิง : ชาย เท่ากับ  2.6 : 1  อายุเฉลี่ย  58.6  ปี มีอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 34.1  รายได้ครอบครัวเฉลี่ย  9,939.47  บาท/เดือน มีโรคหัวใจและหลอดเลือดร่วมด้วยร้อยละ  86.3มีระยะเวลาเฉลี่ยของการเป็นโรคเบาหวาน5.7  ปี  มีการรับรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนในระดับมากร้อยละ 98.4 และ (3) ปัจจัยและพฤติกรรมการป้องกันที่มีความแตกต่างกันระหว่างผู้ป่วยที่มีและไม่มีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่  อายุ (p<0.001)  อาชีพ (p=0.011)การมีโรคร่วม(p=0.002)  และระยะเวลาที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน (p=0.003)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-04-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย