ต้นทุนการผลิตและวิถีการตลาดข้าวของภาคใต้

Main Article Content

วีระศักดิ์ คงฤทธิ์
สุวัจนี เพชรรัตน์

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจสภาพการผลิตและการตลาดข้าวของชาวนาในภาคใต้ ใน ภาวะที่ราคายางพาราและปาล์มน้ำมันสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด พื้นที่ศึกษาครั้งนี้ คือ จังหวัดสงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช เก็บข้อมูลกับชาวนา 348 ตัวอย่าง สัมภาษณ์เชิงลึกโรงสี 17 โรง และพ่อค้าคนกลาง 30 คน ผล การศึกษาพบว่า ด้านการผลิตเกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์ไวแสง (พื้นเมือง) และไม่ไวแสง (พันธุ์ใหม่) โดยข้าวพันธุ์ใหม่ จะมีต้นทุนการผลิตสูงกว่า แต่ผลผลิตต่อไร่มากกว่าข้าวพันธุ์พื้นเมืองเท่าตัว จึงได้รับกำไรสูงกว่า ด้านการใช้ปัจจัย การผลิต พบว่า เกษตรกรใช้ปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวมากถึง 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ ด้านการตลาด พบว่า ในตลาดข้าว เปลือก โรงสียังต้องพึ่งพ่อค้าคนกลางอย่างมาก และโรงสีได้ผลักภาระค่านายหน้าให้เกษตรกรทั้งหมด แม้เกษตรกร นำไปขายโรงสีโดยตรงก็ได้ราคาเท่ากับขายนายหน้า เพราะโรงสีไม่ต้องการตัดราคานายหน้า ดังนั้น รัฐบาลจึง จำเป็นต้องทบทวนการฟื้นฟูตลาดกลางข้าวในพื้นที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตลาดให้ดีขึ้น

 

Rice Production Cost and Marketing Channel in the Southern

The present study mainly examined rice production and marketing in Southern Thailand under a sharp increase in para rubber and oil palm price. The area of this study included Phattalung, Nakorn Srithammarat, and Songkhla provinces. The data was gathered through primary data collection using questionnaires and in-depth interviews of 348 farmers, 17 rice mills, and 30 rice middlemen. The findings revealed that the production cost of modern rice varieties had higher costs than local rice varieties; whereas, the modern rice yields were higher than local rice yields. Returns from growing modern rice were higher than those from growing local rice. In terms of production factor use, it was found that the use of rice seeds was approximately 25-30 kg./rai. As for marketing channels, the study result showed that rice mills relied mainly on paddy rice brokers to collect paddy rice. Moreover, the study found that the owners of the rice mills passed the brokerage fees onto farmers. Based on the findings, it is suggested that the government should establish a central rice market in order to improve rice market efficiently.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)