การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายผมนาง (Gracilaria spp.) ของเกษตรกรในตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

Main Article Content

พลากร สัตย์ซื่อ
ปุรวิชญ์ พิทยาภินันท์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐสังคม การเพาะเลี้ยง และการขายสาหร่ายผมนางของ เกษตรกร และ 2) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่มีผลต่อการเพาะเลี้ยงสาหร่ายผมนางของ เกษตรกรในตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา โดยทำการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิด้วยแบบสัมภาษณ์ เชิงโครงสร้าง การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสนทนาตามธรรมชาติ และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเกษตรกรผู้เพาะ เลี้ยงสาหร่ายผมนางจำนวน 30 ราย ซึ่งใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงและแบบลูกโซ่ รวมทั้งได้ทำการสัมภาษณ์เจ้า- หน้าที่ของภาครัฐและพ่อค้าคนกลางด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิม เลขคณิต การวิเคราะห์เนื้อหาที่ปรากฏ และเทคนิคการวิเคราะห์สวอท ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีการ เพาะเลี้ยงสาหร่ายผมนางเป็นอาชีพเสริม และมีประสบการณ์การเพาะเลี้ยงสาหร่ายผมนางเฉลี่ยประมาณ 3 ปี การ ขายสาหร่ายผมนางเป็นการขายส่งผ่านพ่อค้าคนกลาง ปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง คือ เกษตรกรมีความรู้ในการเพาะเลี้ยง สาหร่ายผมนางเป็นอย่างดี ปัจจัยที่เป็นจุดอ่อน คือ เกษตรกรขาดเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเพาะเลี้ยงสาหร่าย- ผมนาง ปัจจัยที่เป็นโอกาส คือ ตลาดมีความต้องการสาหร่ายผมนางสูง และปัจจัยที่เป็นอุปสรรค คือ งานวิจัยเกี่ยว กับสาหร่ายผมนางมีอยู่น้อย ข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มศักยภาพการเพาะเลี้ยงสาหร่ายผมนางของเกษตรกร คือ การส่ง เสริมการเพาะเลี้ยงสาหร่ายผมนางเป็นอาชีพทางเลือกของเกษตรกร และการส่งเสริมการแปรรูปสาหร่ายผมนาง

 

An Environmental Analysis of Pom Nang Seaweed (Gracilaria spp.) Cultivation by Farmers in Klongdan Subdistrict, Ranot District, Songkhla Province

This research aims to 1) explore farmers’ socio-economic characteristics, including cultivation and sale of Pom Nang seaweed, and 2) identify key internal and external environments affecting Pom Nang cultivation by farmers. Primary data were collected using structured interviews, non-participant observations, natural conservations and in-depth interviews with a total of 30 Pom Nang seaweed cultivators. Purposive selection and snowball sampling were used for data selection. In addition, structured interviews were used with government officers and Pom Nang seaweed wholesalers. The derived data was analyzed using percentage, arithmetic mean, manifest content analysis and SWOT analysis techniques. The results showed that a subsidiary occupation of most farmers was Pom Nang seaweed cultivation with an average experience in Pom Nang seaweed cultivation of approximately three years. The Pom Nang seaweed was sold to wholesalers. The dominant strength was farmers had reasonably good know-how of Pom Nang seaweed cultivation, whereas, the dominant weakness was farmers lacked modern technology. The dominant opportunity was that there were high demands for Pom Nang seaweed, while the dominant threat was there were a few research about Pom Nang seaweed cultivation. To enhance the development of Pom Nang seaweed cultivation, this research suggests promotion of Pom Nang seaweed cultivation, an alternative occupation for farmers, and its processing.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)