ปัจจัยทางด้านการถ่ายทอดทางสังคมและจิตลักษณะที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดี ตามระบอบประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Authors

  • ดร.กมลวรรณ คารมปราชญ์ คล้ายแก้ว

Keywords:

การถ่ายทอดทางสังคม จิตลักษณะ พฤติกรรมการเป็นพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตย

Abstract

          This research aims to develop a model of causal relationship structure of democratic citizenship behavior of bachelor degree students. The sample group of this research is 1,087 students in the bachelor degree education from first to third year enrolling 3 three different programs: Health Science, Science and Technology and Social Sciences and Humanities. The sample group is selected using Multi-stage Random Sampling. The data analysis is done using LISREL program.

          The research findings reveal that the model of good democratic citizenship behavior of bachelor degree students is consistent with the empirical data. It also indicates that the process of socialization from family, educational institution, peers, ethical reasons and sense of efficacy in citizenship can be collectively utilized to forecast the attitude toward democratic citizenship behavior at 79% probability. In the meantime socialization from media, the ability to achieve metacognition and future orientation and self-control can collectively forecast the sense of efficacy in citizenship at 65% probability. It is also found that socialization from family, educational institution, peers, media, the ability to achieve metacognition, ethical reasons, future orientation and self-control, a sense of political efficacy, attitude toward good democratic citizenship behavior can be used collectively to predict good democratic citizenship behavior with 69% probability.

 

Keywords: Socialization, Psychology Characteristics, Good democratic citizenship behavior

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1-3 ที่เรียนใน 3 สาขาวิชา ประกอบด้วย วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จำนวน 1,087 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling)วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพบว่าเหตุผลเชิงจริยธรรมและเจตคติต่อพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตยมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตย และการถ่ายทอดทางสังคมจากครอบครัว การถ่ายทอดทางสังคมจากสถาบันการศึกษา การถ่ายทอดทางสังคมจากกลุ่มเพื่อน เหตุผลเชิงจริยธรรมและความรู้สึกมีประสิทธิภาพในความเป็นพลเมือง สามารถร่วมกันทำนายเจตคติต่อพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตยได้ร้อยละ 79 พบว่าการถ่ายทอดทางสังคมจากสื่อมวลชน ความสามารถในการรู้คิด และลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน สามารถร่วมกันทำนายความรู้สึกมีประสิทธิภาพในความเป็นพลเมืองได้ร้อยละ 65 และพบว่าการถ่ายทอดทางสังคมจากครอบครัว การถ่ายทอดทางสังคมจากสถาบันการศึกษา การถ่ายทอดทางสังคมจากกลุ่มเพื่อน การถ่ายทอดทางสังคมจากสื่อมวลชน ความสามารถในการรู้คิด เหตุผลเชิงจริยธรรม ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน ความรู้สึกมีประสิทธิภาพทางการเมือง เจตคติต่อพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตย สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมความเป็นพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตยได้ร้อยละ 69

 

คำสำคัญ: การถ่ายทอดทางสังคม จิตลักษณะ พฤติกรรมการเป็นพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตย 

Author Biography

ดร.กมลวรรณ คารมปราชญ์ คล้ายแก้ว

อาจารย์ ประจำสำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, อีเมล: [email protected]

Downloads

Published

2016-08-31

How to Cite

คล้ายแก้ว ด. ค. (2016). ปัจจัยทางด้านการถ่ายทอดทางสังคมและจิตลักษณะที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดี ตามระบอบประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี. Journal of Behavioral Science for Development, 8(2). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/65707