มาตรการทางกฎหมายในการจัดการขยะมูลฝอยในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Vichai Thosuwonchinda วิชัย โถสุวรรณจินดา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jem.2015.12

บทคัดย่อ

จากการที่ปริมาณขยะมูลฝอยอันเกิดจากการอุปโภคบริโภคของประชาชนในประเทศไทยมีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามจำนวนประชากร การศึกษานี้จึงมุ่งศึกษาถึงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะ ปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้มาตรการทางกฎหมายดังกล่าว และข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยใช้การศึกษาในเชิงคุณภาพ จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอยทั้งกลุ่มที่เป็นผู้รับผิดชอบตามกฎหมาย กลุ่มผู้ใช้บังคับกฎหมาย และกลุ่มผู้ถูกบังคับให้ต้องปฏิบัติตามกฎหมายผลการศึกษาได้พบว่า ปัญหาในการจัดการขยะจึงเป็นเรื่องการขาดความเป็นเอกภาพของกฎหมาย ขาดการบังคับใช้ที่มีประสิทธิภาพ ขาดการจัดการขยะที่เหมาะสมสำหรับขยะแต่ละประเภท และขาดความร่วมมือจากประชาชนและชุมชนในการจัดการขยะ ผู้วิจัยได้เสนอแนะว่า รัฐบาลควรรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะให้เป็นฉบับเดียวกัน โดยจัดไว้เป็นหมวดหมู่ที่คำนึงถึง การลดปริมาณขยะตั้งแต่ต้นทาง การรวบรวมขนถ่าย และกำจัดขยะและของเสียอันตราย มีการกำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการและและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอยด้วย

Author Biography

Vichai Thosuwonchinda วิชัย โถสุวรรณจินดา

อาจารย์ประจำ โครงการปริญญาเอกสาขานโยบายสาธารณะและการจัดการ

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

1761 ถนนพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ  10250โทรศัพท์ 02-320-2777 ต่อ 1129 โทรสาร 02-722-7600

References

Bupasiri, C. (2012). A Study of Implementation of City Municipality in Public Health Act B.E.2535 [In Thai: สถานการณ์การบังคับใช้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535]. Ministry of Public Health, Thailand.

Chukan, K. (2011). The Study of Solid Waste Management Systems, Pakkred City Municipality, Nonthaburi Province. [In Thai: การศึกษาระบบการจัดการขยะมูลฝอย เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี]. Master’s Thesis, Silpakorn University.

Dumronggittigule, S., Boontham, N. & Saramath, S. (2009). Community Participation in Solid Waste Management for the Benefit of Stakeholders in Mae Pong District and Doi Saket District in Chiang Mai Province [In Thai: การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะเพื่อให้เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วนของชุมชนอำเภอแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ดจังหวัดเชียงใหม่]. Final Research Report, National Research Council of Thailand.

National Economic and Social Development Board. (2001). The 9th National Economic and Social Development Plan, 2002 – 2006) [In Thai: แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549)]. Office of the National Economic and Social Development Board, Thailand.

Pollution Control Department. (2013). The 2013 Report on Pollution Situation [In Thai: รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2556]. Ministry of Natural Resources and Environment, Thailand.

Pollution Control Department. (2006). Report of Law Drafting on the Implementation of National Solid Waste Management Master Plan [In Thai: รายงานการจัดทำร่างกฎหมายรองรับการดำเนินงานตามแผนแม่บทขยะมูลฝอยแห่งชาติ]. Ministry of Natural Resources and Environment, Thailand.

Pollution Control Department. (2005). Knowledge of Reduce Reuse and Recycle: 3Rs. [In Thai: ความรู้ด้านการลด คัดแยก และนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่]. Retrieved September 26, 2015, from http://www.pcd.go.th/info_serv/waste_3R.htm

Sankot, W.(2011). Participation in Community Solid Waste Management in Tambon Administrative Organization Areas in Amphoe Nong Sung, Changwat Mukdahan [In Thai: การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนแบบมีส่วนร่วม ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร]. Master’s Thesis, Mahasarakham University.

Thongthawee, T. (2010). Municipal Solid Waste Management Problems in Nong Kham Administrative Organization, Chakkarat District, Nakhon Ratchasima Province [In Thai: สภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยองค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา]. Master’s Thesis, Suranaree Technology University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-15

How to Cite

วิชัย โถสุวรรณจินดา V. T. (2015). มาตรการทางกฎหมายในการจัดการขยะมูลฝอยในประเทศไทย. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 11(2), 76–89. https://doi.org/10.14456/jem.2015.12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research