การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ศศิธร สุริยวงศ์
วิชิต สุรัตน์เรืองชัย

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แผนผังความคิดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้แบบฝึก

กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล อ.เมือง จ.ระยอง จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 3 ห้องเรียน ใช้เวลาในการทดลอง 15 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า t- test (dependent sample)

ผลการวิจัยพบว่าแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.42 /85.71 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน80/80 ที่กำหนดไว้และมีผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แผนผังความคิดสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ : การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ/แผนผังความคิด /นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

 

ABSTRACT

The purpose of this research was to develop practical packages emphasize reading by mind map of prathom suksa three students to meet the standard efficiency criterion of 80/80 and learning achievement comparison by practice before and after use.

The sample consisted of thirty five students of prathom suksa III at Tessaban WatLum Mahachai Chumpol School, Meung District,Rayong Province by group random method (Cluster Sampling) of three classrooms . The experiment was set up 15 hours The data was analyzed byutilizing the average, the percentage, the standard deviation and Test t-test (dependent sample)

It was revealed that the practice emphasize reading by mind map for prathom suksa III students have efficiency equal 83.42/85.71 were higher than standard gain 80/80 and the students have achievement after instruction by practical package emphasize reading by mind map was higher than before instruction with statistical significantly at a.0.1 level.

KEYWORD : PRACTICAL PACKAGES DEVELOPMENT/ EMPHASIZE READING / MIND MAP /PRATHOMSUKSA THREE STUDENTS

Article Details

Section
Research Article