การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรเครือข่ายภาคใต้

ผู้แต่ง

  • จินตนา เซ่งสิ้ม Sirindhorn College of Public Helth Trang

คำสำคัญ:

Good Governance, human resource management

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีจุดประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับ ความคิดเห็นของบุคลากรวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร เครือข่ายภาคใต้ สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ต่อการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นการใช้ หลักธรรมาภิบาลในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามคุณลักษณะบุคคล (3) เพื่อศึกษาปัญหาที่เกี่ยวกับ การบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการศึกษา คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง และ จังหวัดยะลา  จำนวน 85 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว และ  Independent Sample t-test

                ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นต่อการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  (= 3.13 ) ด้านหลักความคุ้มค่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 3.45 )  รองลงมา คือ ด้านหลักคุณธรรม (= 3.16) เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นการใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ตามลักษณะบุคคล พบว่า ความคิดเห็นต่อการใช้หลักธรรมาภิบาล ในการ บริหารทรัพยากรมนุษย์โดยภาพรวม จำแนกตาม  เพศ  วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน  ไม่แตกต่างกัน (p=0.132)  บุคลากรที่มีตำแหน่งหน้าที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p<0.05)  และเมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่าง
กลุ่มตำแหน่งหน้าที่ เป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักนิติธรรม  ตำแหน่งที่มีความเห็นแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ  (p<0.05)  คือ กลุ่มลูกจ้างชั่วคราว  มีความเห็นแตกต่างกับกลุ่มผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการ  หัวหน้ากลุ่มงาน  ผู้ปฏิบัติงาน และลูกจ้างประจำ  ปัญหาการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารทรัพยากร มนุษย์ โดยภาพรวม  อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีปัญหาด้านหลัก นิติธรรม ร้อยละ 55.29  กลุ่มตัวอย่างให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา ดังนี้ ด้านหลักคุณธรรม ให้มี การสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานมากที่สุด ร้อยละ 85.88  รองลงมาด้านหลักนิติธรรม ให้มีการ ประชาสัมพันธ์สื่อสารให้บุคลากรทราบเกี่ยวกับกฎระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และด้านหลักความคุ้มค่า ควรมีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงทุกปีงบประมาณให้เป็นรูปธรรม ร้อยละ  65.88  ตามลำดับ

ABSTRACT

This survey research proposed to 1) assess opinions of good governance for human resource management among personnel working at Sirindhorn Southern College of Public Health Network,
2) compare between opinion levels of good governance for human resource management and general characteristics, and 3) determine problems towards good governance for human resource management. A total of 85 personnel were recruited from Sirindhorn Southern College of Public Health Trang and Yala. Data collection was obtained using a questionnaire. Data was analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, One-way ANOVA, and independent sample t-test.

The results revealed that opinions of good governance for human resource management of
participants were observed at moderate level (=3.13). Worthiness aspect of good governance for
human resource management showed the highest mean score (=3.45), followed by moral principles
(=3.16), respectively. The comparison between good governance for human resource management and general characteristics of the participants were found that good governance for human resource
management of participants with different genders, educational levels, and working experience was not significantly different (p = .132). However, their positions showed different in opinions statistically
significant (p< .05), temporary employees had significantly difference in opinions with director and deputy director, head office, officer, and permanent personnel. Problems of application of good governance for human resource management in overview were observed at moderate level (55.29%). Additionally, 86% participants opined that rule of law should be informed and worthiness should be used to improve
performance constructively (65.88%).

เผยแพร่แล้ว

2012-05-14

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย