การพัฒนาชุดอุปกรณ์สำหรับฝึกปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วยที่มีท่อระบายน้ำไขสันหลังออกจากโพรงสมอง

ผู้แต่ง

  • นภาภรณ์ กวางทอง คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ถนนขาว แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

Active learning, Educational innovation, Nursing care practice of patient with external ventricular drainage.

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          ทักษะการปฏิบัติเป็นหัวใจของวิชาชีพพยาบาล นักศึกษาพยาบาลซึ่งจะเป็นพยาบาลในอนาคต จะมีทักษะการปฏิบัติที่มีคุณภาพมากเพียงใด ปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง คือคุณภาพการจัดการเรียนการสอน การเรียนรู้จากสถานการณ์จริงเป็นการเรียนรู้เชิงรุกที่มีประสิทธิภาพทำให้นักศึกษาได้เห็น ได้สังเกต ได้สัมผัส และได้ทดลองปฏิบัติ แต่มีข้อจำกัดหลายประการ ดังนั้นการใช้สถานการณ์จำลองร่วมกับนวัตกรรมทางการศึกษาที่เหมาะสม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง จากแนวคิดดังกล่าวทำให้ผู้เขียนคิดค้นและประดิษฐ์ชุดอุปกรณ์สำหรับฝึกปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วยที่มีท่อระบายน้ำไขสันหลังออกจากโพรงสมองด้วยตนเองมาแล้ว 2 รุ่น โดยประดิษฐ์ชุดอุปกรณ์ฯรุ่นแรกตามเกณฑ์การประเมินหุ่นจำลองของสำนักคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ต่อจากนั้นได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ แล้วนำผลการประเมินมาปรับปรุงในการประดิษฐ์ชุดอุปกรณ์ฯรุ่นที่ 2 ตลอดจนได้ทำการวิจัย ซึ่งผลการวิจัยพบว่าความคงทนทางการเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดอุปกรณ์ฯ มากกว่าความคงทนทางการเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบบรรยายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p< .05 นอกจากนี้ยังได้เผยแพร่ชุดอุปกรณ์ฯ รุ่นที่ 2 แก่พยาบาล สถาบันการศึกษาพยาบาลและสาธารณะชน อีกทั้งได้รับอนุสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ล่าสุดผู้เขียนได้ประสานความร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการสร้างชุดอุปกรณ์ฯ รุ่นที่ 3 ซึ่งใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมการทำงานเพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ในสถานการณ์เสมือนจริง และตรวจสอบความถูกต้องได้ทันที

Model Improvement for Practical Nursing Care

of Patient with External Ventricular Drainage

Abstract

                Practical skills are the heart of nursing. Nursing students who will be nurses in the future, their quality of practice skills can be determine by the quality management of learning and teaching. Learning from a real scenario is effective active learning. With this active learning students can learn most readily about things that are tangible and directly accessible to their senses visual, auditory, tactile, and practice. However, there are some limitations for this learning. Many nursing students have in grasping abstractions are often masked by what they do and how they do. To understand them as ways of thinking and doing, as well as bodies of knowledge, requires that students have some experience with the kinds of thought and practice that are typical of nursing field. Using scenario with appropriate education innovation for nursing students is the most importance in learning and teaching. According to this concept, the author has inspired to invent model for learning in nursing care of patient with external ventricular drainage. This model was improved in several times. The first model, the author invented it by following the model evaluation criteria of Vocational Education Commission. With evaluation from the experts, the author used their evaluations to improve the second version model. Therefore, the author used the second model for teaching nursing students and conducted the research. The results showed that the retention of knowledge by using the model was difference from nursing students who learned by lecture at statistically significant level of .05. The author has also published the second model to nurses, nursing institutions, and public. This model was the patent granted by Department of Intellectual Property. The third model, the author collaborated with the Faculty of Engineering Kasetsart University, for improvement the model. This version used electrical control the practical nursing care of patient with external ventricular drainage model for enhancing the quality so that students can learn in a virtual situation as well as determine the correct practice immediately.

Author Biography

นภาภรณ์ กวางทอง, คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ถนนขาว แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์
มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-03-23

ฉบับ

บท

Academic Articles; บทความวิชาการ