พัฒนาดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกำลังพลในกองพลทหารราบที่ 3 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน Development Quality of Life Index According to Sufficiency Economy Philosophyamong military personal in the Third Infantry Division

Authors

  • สุรจิตร อู่ตะเภา The office of National Security Council

Keywords:

ดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิต, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, กำลังพลของกองพลทหารราบที่ 3, quality of life, sufficiency economy philosophy, military personal in the third Infantry division

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อค้นหาดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของกำลังพลในกองพลทหารราบที่ 3 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และ 2. ทดลองประเมินดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของกำลังพลในกองพลทหารราบที่ 3

การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ค้นหาดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของกำลังพลในกองพลทหารราบที่ 3 โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย ขั้นตอนที่ 2 นำดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาทดลองประเมินดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงกับกำลังพลในกองพลทหารราบที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงสำรวจเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวนของกองพลทหารราบที่ 3 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินคุณภาพชีวิต และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ

ผลการวิจัยขั้นตอนที่ 1 จากการเก็บข้อมูลแบบเดลฟายในรอบที่สาม พบว่า ได้ดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของกำลังพลในกองพลทหารราบที่ 3 จำนวน 39 ดัชนีชี้วัด ซึ่งประกอบด้วย  2  มิติ คือ มิติด้านวัตถุวิสัย และมิติด้านอัตวิสัย มิติด้านวัตถุวิสัยมีจำนวน 25 ดัชนีชี้วัด และมิติด้านอัตวิสัย จำนวน 14 ดัชนีชี้วัด

ผลการวิจัยขั้นตอนที่ 2 พบว่า ดัชนีชี้วัดของคุณภาพชีวิตที่มีผู้เห็นด้วยน้อยต่ำกว่าร้อยละ 50.00 ได้แก่ มิติด้านวัตถุวิสัย : สมาชิกในครอบครัวไม่ดื่มสุรา และมิติด้านอัตวิสัยคือ มีอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่ดี เช่น โกรธ เศร้า อยู่เสมอ ๆ ผู้ตอบแบบสอบถาม โดยภาพรวมคิดว่าคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี จำนวน 218 คน คิดเป็นร้อยละ 54.50 คุณภาพ
ชีวิตที่อยู่ในระดับไม่ดีเพียง 5 คน หรือเพียงร้อยละ 1.30

The purposes of this research were study; 1) to study an investigation into the quality of life index according to the sufficiency economy philosophy in the Third Infantry Division of the Upper Northeastern Area. 2) to evaluate the quality of life index according to the sufficiency economy philosophy in the Third Infantry Division.

The operation research has been separated into two phases. Phase 1 was to research indexes of quality of life according to the sufficiency economy philosophy in the Third Infantry Division of the Upper Northeastern Area using the Delphi research technique. Phase 2 was to employ these indexes for evaluation, using a survey. The samples were 400 officers. The Instrument was an evaluation of quality of life. Statistics for analyzing date was frequency and percentage.


The results of study showed that: 39 indexes of quality of life according to the sufficiency economy philosophy in the Third Infantry Division were found from 2 dimensions which consisted of objective and subjective sides. The 39 indexes were as follows: Objective side was 25 indexes of the objective sides. And the subjective side was 14 indexes.


The results of the study found that no more than 50% of the sample  accepted  quality of life indexes in term of objective well-being as household as no drinking in family and as always, to have negative emotionally such as be angry or suffering. The 218 persons or at  54.50%, implying  that  they have high quality of life but it had just five officers or at 1.30% they have low quality of life.

Downloads

How to Cite

1.
อู่ตะเภา ส. พัฒนาดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกำลังพลในกองพลทหารราบที่ 3 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน Development Quality of Life Index According to Sufficiency Economy Philosophyamong military personal in the Third Infantry Division. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2014 Jun. 2 [cited 2024 Apr. 20];15(1):99-106. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/18438