ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน The Effectiveness of the Empowerment Program on Development of Self-care Competency in Community Dwelling Elders

Authors

  • ปรางค์ทิพย์ อุจะรัตน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วัฒนา พันธุ์ศักดิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ฉวีวรรณ โพธิ์ศรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ, การพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเอง, ผู้สูงอายุ, Empowerment Program, Self-Care Competency development, Elders

Abstract

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการพัฒนาศักยภาพ การดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 100 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยกลุ่มตัวอย่างสามารถช่วยเหลือตนเองได้ และไม่มีโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการดูแลตนเอง เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัยเป็นโปรแกรม การเสริมสร้างพลังอำนาจที่สร้างขึ้นตามแนวคิดของ Gibson ประกอบด้วย การค้นพบสภาพการณ์จริง การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสมและลงมือปฏิบัติ การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจตามโปรแกรม 3 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลตนเอง และตัวบ่งชี้ สุขภาพ (ดัชนีมวลกาย ระดับน้ำตาลในเลือด และความดันโลหิต) ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า
1. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมและรายด้าน (การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการพัฒนาทางจิตวิญญาณ) ค่าดัชนีมวลกายก่อนและหลังเข้าโครงการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
2. กลุ่มตัวอย่างที่มีโรคประจำตัว (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน) สามารถควบคุมโรคได้ดีขึ้น

The purpose of this action research was to examine the effectiveness of the empowerment program in order to develop self-care competency in community dwelling elders. Through convenience sampling, the total of 100 elders aged 60 years and older living in community was participated in this study. Most elders were living independent. Focus group discussion was employed by using the Gibson’s empowerment framework. The framework was composed of 4 steps: discovering reality, critical reflction, taking charge, and holding. The subjects joined the empowerment groups 3 times. Data were collected using questionnaire and health indicators (BMI, blood sugar and blood pressure level) before and after attending the program. Descriptive statistics and t-test were used to analyze the data. The research results showed that there was statistically signifiance difference in eating, exercise, spiritual behaviors and overall self-care behaviors and BMI level after the program (p < .05). The elder group with chronic diseases (hypertension, diabetes) was being able to control chronic diseases better.

Downloads

How to Cite

1.
อุจะรัตน ป, พันธุ์ศักดิ์ ว, โพธิ์ศรี ฉ. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน The Effectiveness of the Empowerment Program on Development of Self-care Competency in Community Dwelling Elders. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2014 Dec. 8 [cited 2024 Mar. 29];15(2):216-24. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/25181