การดูแลอย่างต่อเนื่องของหญิงที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ Continuing Care of Abnormal Pap Test

Authors

  • หทัยรัตน์ ขาวเอี่ยม ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
  • แสงจันทร์ สุนันต๊ะ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
  • ขวัญเรือน ด่วนดี ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

Keywords:

การดูแลอย่างต่อเนื่อง, การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ, Continuing Care, Abnormal Pap Test

Abstract

มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบในบ่อยเป็นอันดับสองทั้งในระดับโลกและประเทศไทย หากแต่ในปัจจุบันเนื่องจากมีการรณรงค์ในเรื่องของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างจริงจัง ทำให้อัตราการเกิดโรคและอัตราการตายจากมะเร็งปากมดลูกลดลงอย่างมากและต่อเนื่องในประเทศกำลังพัฒนา การรณรงค์ให้มีการตรวจคัดกรองแปปสเมียร์ทำให้สามารถวินิจฉัยและให้การรักษาให้หายได้ในระยะเริ่มต้น ในประเทศไทย นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้มีการเพิ่มจำนวนการตรวจคัดกรองแปปสเมียร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพมหานคร สำนักงานประกันสุขภาพได้ร่วมมือกับองค์การแพธ ประเทศไทย จัดทำโครงการเลดี้เช็ค นอกจากต้องการเพิ่มจำนวนหญิงที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ยังมุ่งหวังที่จะพัฒนาระบบการส่งต่อและติดตามหญิงที่มีผลการตรวจคัดกรอง ตั้งแต่ระดับ 3 - 4 และ Low grade SIL (Bethesda System) ถึงระดับมะเร็งระยะลุกลามให้เข้าถึงการรักษาต่อไป ก่อนการติดตามในวันที่ได้รับการตรวจคัดกรอง ผู้ให้บริการจะบันทึกเบอร์โทรศัพท์ และขออนุญาตหญิงที่ได้รับการตรวจในการติดต่อเพื่อติดตามในกรณีที่ผลการตรวจผิดปกติ มีคลินิกและโรงพยาบาลในเขต กรุงเทพฯ เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 26 แห่ง มีไม่ถึงครึ่งของหญิงที่มีผลตรวจผิดปกติเข้าถึงบริการและได้รับการรักษามากกว่าครึ่งมีความกังวลและพร้อมที่จ่ายเงินเองมากกว่าที่จะไปสถานที่ตรวจรักษาตามสิทธิของตน มีหญิงบางส่วนที่ปฏิเสธการรักษา เนื่องจากคิดว่าไม่สะดวกต่อการเดินทางและเสียเวลาทำงานการเพิ่มอัตราการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกยังคงต้องการการพัฒนาให้มีระบบที่เอื้อต่อการเข้ารับบริการ ทั้งการรักษาและการประคับประคองจิตใจของผู้ที่มีผลการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ หากประเทศไทยมีระบบการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการติดตาม ส่งต่อ เพื่อเข้าถึงการรักษา จะทำให้มีอัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูกและอัตราการตายลดลงได้อย่างชัดเจน

Invasive cervical cancer is the second most common cancer among women worldwide and Thailand. However, with the implementation of cervical cancer screening programs, the incidence and mortality have declined dramatically in developed countries. This decline in mortality due to cervical cancer is largely attributed to the increased use of the Pap test to detect early stage cervical cancer and precancerous lesions. Thailand, under universal coverage Scheme campaigns made higher number of Pap test screening women in Bangkok area. The Lady Check project aimed to follow up women who had abnormal result of Pap test (Class 3-4 categories) and Bethesda System from Low-grade SIL to Invasive carcinoma for continuing the services. All the health care providers in the project reviewed the consent forms and phone numbers of women who enrolled in the campaigns from 26 private clinics and hospitals. Less than half access to treatment and care. More than half of women who had abnormal result decided to pay the services by their own pocket instead of receiving support from universal coverage scheme. Most of women rejected to receive the treatment because of their inconvenience; such as works, economics, and travel. Campaign for screening test in Thailand need to improve the friendly system to support women to access the treatment and care as soon as possible for reducing cervical cancer mortality rate and improving quality of life among Thai women.

Downloads

How to Cite

1.
ขาวเอี่ยม ห, สุนันต๊ะ แ, ด่วนดี ข. การดูแลอย่างต่อเนื่องของหญิงที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ Continuing Care of Abnormal Pap Test. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Feb. 4 [cited 2024 Apr. 25];15(3):71-4. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/30233