ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข้อมูลด้านบุคคล องค์กร สภาพแวดล้อมทาง เศรษฐกิจและสังคม การสนับสนุนทางสังคม และความเข้มแข็งในการมองโลก กับความมั่นคงในการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

Authors

  • แน่งน้อย สมเจริญ ภาควิชาการบริหารการพยาบาลและพื้นฐานวิชาชีพ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • ดวงรัตน์ มนไธสง ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

Keywords:

ความมั่นคงในการทำงาน, การรับรู้ด้านบุคคล องค์กร สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม, การสนับสนุนทางสังคม, ความเข้มแข็งในการมองโลก, job security, perception on personnel organization economic and social environment aspects, social support, sense of coherence

Abstract

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข้อมูลด้านบุคคล องค์กร สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม การสนับสนุนทางสังคม และความเข้มแข็งในการมองโลก กับความมั่นคงในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัย จำนวน 433 คน มีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ข้อมูลด้านบุคคล องค์กร สภาพเศรษฐกิจและสังคม การสนับสนุนทางสังคม ความเข้มแข็งในการมองโลก และความมั่นคงในการทำงาน ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เท่ากับ .90, .93,.90 .93 วิเคราะห์หาค่าความเที่ยงตรง เท่ากับ .80, .82, .82, .79 วิเคราะห์ โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันพบว่า มีการรับรู้ข้อมูลด้านบุคคล องค์กร สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมระดับปานกลาง การสนับสนุนทางสังคมระดับสูง ความเข้มแข็งในการมองโลกระดับปานกลาง และการรับรู้ข้อมูลด้านบุคคล องค์กร สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความมั่นคงในการทำงานในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และความเข้มแข็งในการมองโลกไม่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงในการทำงาน

This research aimed to study relationships between perception on personnel, organization, economic and social environment aspects, social support and sense of coherence with job security of the personnel in Navamindradhiraj University. The samples consisted of 433 government offiers and employees of the university, selected through multi-stage sampling technique. The research instruments were demographic and perception on personnel, organization, economic and social environment aspects, social support and sense of coherence and job security questionnaires. All were tested for their content validity by a 5 experts. CVI were .90, .93, .90, .93 Reliability were .80, .82, .82, .79 The data were analyzed to find percentage, mean, standard deviation and Pearson’s Product Moment Correlation Coeffiient The results indicated that the samples had perception on personnel, organization, economic and social environment was moderate level .Social support was high level. Sense of coherence was moderate level and the samples had the perception on personnel, organization, economic and social environment, social support aspects were positively correlated with job security at a moderate level and signifiant at the .05 level and showed that sense of coherence was not signifiant with job security.

Downloads

How to Cite

1.
สมเจริญ แ, มนไธสง ด. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข้อมูลด้านบุคคล องค์กร สภาพแวดล้อมทาง เศรษฐกิจและสังคม การสนับสนุนทางสังคม และความเข้มแข็งในการมองโลก กับความมั่นคงในการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Feb. 4 [cited 2024 Apr. 26];15(3):202-8. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/30551