ปัจจัยทำนายกิจกรรมทำงเพศของผู้ป่วยภำวะหัวใจวำย Factors predicting sexual activity among patients with heart failure

Authors

  • ประภำพร ดองโพธิ์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
  • นรลักขณ์ เอื้อกิจ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ปัจจัยทำนายกิจกรรมทางเพศ, ภาวะหัวใจวาย, Factors predicting sexual activity, Heart failure patients

Abstract

การวิจัยสหสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมทางเพศและอำนาจทำนายของปัจจัยทำนาย ได้แก่ อัตมโนทัศน์ทางเพศ ภาวะซึมเศร้า ความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ และการสื่อสารทางเพศกับคู่ครอง กับกิจกรรมทางเพศของผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย วัยผู้ใหญ่ จำนวน 143 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก คลินิกโรคหัวใจของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลตำรวจ และคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามกิจกรรมทางเพศ แบบสอบถามอัตมโนทัศน์ทางเพศ แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบวัดความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ และแบบสอบถามการสื่อสารทางเพศกับคู่ครอง แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน หาค่าความเที่ยงได้เท่ากับ .82, .95, .86, .75, และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างมีกิจกรรมทางเพศอยู่ในระดับต่ำ ( = 0.51, S.D. = 0.43) 2. อัตมโนทัศน์ทางเพศ การสื่อสารทางเพศกับคู่ครอง และความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับกิจกรรมทางเพศของผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .780, .695 และ .159 ตามลำดับ) ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับกิจกรรมทางเพศของผู้ป่วยภาวะหัวใจวายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.567) n>3. อัตมโนทัศน์ทางเพศ ภาวะซึมเศร้า ความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ และการสื่อสารทางเพศกับคู่ครองสามารถร่วมทำนายกิจกรรมทางเพศของผู้ป่วยภาวะหัวใจวายได้ ร้อยละ 66.8

The purposes of this predictive correlational research were to study sexual activity and to examine the predictability of predicting factors; sexual self-concept, depression, sexual knowledge, and sexual communication with their spouses and sexual activity among patients with heart failure. One hundred and forty-three out-patients in adults were recruited from a multistage random sampling in the cardio clinic at Thammasat University Hospital, Police General Hospital, and Faculty of Medicine Vajira Hospital University of Bangkok Metropolis. Questionaires were composed of demographic information, sexual activity, sexual self-concept, depression, sexual knowledge, and sexual communication. All questionnaires were tested for content validities by fie panel of experts, and the reliabilities were .82, .95, .86, .75, and .87 respectively. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation, and hierarchical multiple regression statistic. The results of this study revealed that: 1. Mean score of sexual activity among patients with heart failure was low ( = 0.51, SD = 0.43). 2. Sexual self-concept, sexual communication, and sexual knowledge were positively related to sexual activity among patients with heart failure at the signifiant level of .05 (r = .780, .695, and .159 respectively). Depression was negatively related to sexual activity among patients with heart failure at the signifiant level of .05 (r = -.567). 3. Sexual self-concept, depression, sexual knowledge, and sexual communication with their spouses were good predictors for sexual activity. Variables accounted for 66.8% of total variance in sexual activity.

Downloads

How to Cite

1.
ดองโพธิ์ ป, เอื้อกิจ น. ปัจจัยทำนายกิจกรรมทำงเพศของผู้ป่วยภำวะหัวใจวำย Factors predicting sexual activity among patients with heart failure. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Feb. 4 [cited 2024 Apr. 25];15(3):304-12. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/30703