พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมุสลิม กรณีศึกษา อ.องครักษ์ ตำบลองครักษ์ จ.นครนายก Health Promotion Behaviors of Muslim Elders in case of Okarak district Nakornnayork province

Authors

  • ศศิกาญจน์ สกุลปัญญวัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุชาวมุสลิม, Health Promotion Behaviors, Muslim Elders

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมุสลิม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมุสลิม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้สูงอายุชาวมุสลิมที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ทั้งเพศหญิงและเพศชาย มีโรคเรื้อรังและไม่มีโรคเรื้อรัง กรณีศึกษาเขตอำเภอองครักษ์ ตำบลองครักษ์ จ.นครนายก ใช้สูตรการหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโรยามาเน่ จำนวน 300 คน ทำการสุ่มแบบบังเอิญ จาก 7 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 43 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ (Reliability) เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมุสลิม โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุชาวมุสลิมมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามกรอบแนวคิดรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวม เมื่อ พิจารณาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพรายด้านพบว่ามีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านการเจริญทางจิตวิญญาณมากที่สุด การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรับผิดชอบต่อสุขภาพ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล การเจริญทางจิตวิญญาณ และการจัดการกับความเครียด การรับรู้อุปสรรคไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมุสลิมในทุกด้าน

This research was survey research. The objectives were 1) to study the behaviors of the elderly Muslims 2) to examine factors associated with health-promoting behaviors of elderly Muslims. The samples used in this study was calculated by use Taro Yamanae about 300 senior Muslims, aged 60 years old, female and male with chronic and non-chronic disease and reside in the Aukarak district, Nakhon Nayok province selected by random chance. Data were collected by using the questionnaires which verifid the content validity from 3 experts and ensure the reliability of 0.97. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s correlation coeffiient. The results showed that the elderly Muslim health promoting behaviors on Pender model concepts overall was moderate. The perceived benefis of health promoting behavior was related to health promoting behaviors on Pender model concepts overall, when considering on each side found that the behavior of spiritual growth was the most. The perceived benefis of health promoting behavior factors were correlated positively with responsibility for health, interpersonal, spiritual growth and stress management. Perceived barriers was not correlated with health promoting behaviors of elderly Muslims in every aspect.

Downloads

How to Cite

1.
สกุลปัญญวัฒน์ ศ. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมุสลิม กรณีศึกษา อ.องครักษ์ ตำบลองครักษ์ จ.นครนายก Health Promotion Behaviors of Muslim Elders in case of Okarak district Nakornnayork province. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Feb. 4 [cited 2024 Apr. 18];15(3):353-60. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/31166