การประเมินหลักสูตรพยาบาลกู้ชีพของคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช An Evaluation of Emergency Medical Service Nursing Course of Kuakarun Faculty of Nursing, Navamindradhiraj University

Authors

  • บุญทิวา สู่วิทย์ ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์-ศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • เสาวลักษณ์ ทำมาก ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์-ศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • นิรมนต์ เหลาสุภาพ ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์-ศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • พิสมัย พิทักษาวรากร ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์-ศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

Keywords:

การประเมินหลักสูตร, หลักสูตรพยาบาลกู้ชีพ, Course evaluation, Emergency Medical Service Nursing Course

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินหลักสูตรพยาบาลกู้ชีพของคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต โดยกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เข้ารับการอบรมรุ่นที่ 1 และ 2 ในปี พ.ศ. 2557 จำนวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรพยาบาลกู้ชีพของคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (content validity) โดยคำนวณหาค่า IOC (Index of Item Objective Congruence) ได้ค่า = 0.67 - 1 นำมาหาความเชื่อมั่น (reliability) ของแบบสอบถาม โดยใช้ สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น = 0.81 ส่วนแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลกู้ชีพเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบนำมาคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตร KR-20 ของรุ่นที่ 1 และ 2 ได้ค่า = 0.57, 0.66 จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test แบบ dependent ผลการวิจัยพบว่าความคิดเห็นต่อหลักสูตรพยาบาลกู้ชีพของผู้เข้ารับการอบรมรุ่นที่ 1 และ 2 ในปี พ.ศ. 2557 ทุกด้านคือ ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตอยู่ในระดับมาก โดยด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( \inline \bar{x} = 4.69, SD = 0.56 และ \inline \bar{x} = 4.54, SD = 0.50) รองลงมาคือ ด้านบริบท ( \inline \bar{x} = 4.51, SD = 0.47 และ \inline \bar{x} = 4.36, SD = 0.41) ผลผลิต ( \inline \bar{x} = 4.28, SD = 0.55 และ \inline \bar{x} = 4.33, SD = 0.45) และปัจจัยนำเข้าตามลำดับ ( \inline \bar{x} = 3.97, SD = 0.37 และ \inline \bar{x} = 3.99, SD = 0.45) สำหรับความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลกู้ชีพพบว่าหลังการอบรมผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลกู้ชีพสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 อย่างไรก็ตามผู้เข้ารับการอบรมได้เสนอแนะว่าควรเพิ่มระยะเวลาการอบรม ความรู้และทักษะการพยาบาลกู้ชีพในเด็ก ซึ่งผู้รับผิดชอบหลักสูตรควรนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

The purpose of this research was for evaluated the Emergency medical service nursing course of Kuakarun Faculty of Nursing, Navamindradhiraj University in context, input, process and product. The sample were 62 course participants class 1 & 2 in 2014. The research instruments used in this study were questionnaire about opinions on EMS Nursing course and knowledge of EMS Nursing. They were validated by 3 experts, the result of index of Item objective congruence (IOC) were 0.67 - 1, reliability of cronbach’s Alpha coefficient were 0.81 and 0.86 respectively and KR -20 were 0.57 and 0.66 respectively. Data analysis was using frequency, percentage, mean, standard deviation and Dependent t-test. This research found that opinion among course participants class 1 & 2, 2014 in the EMS Nursing course, every term: context, input, process and product had the high mean. First was the process ( \inline \bar{x} = 4.69, SD = 0.56 and \inline \bar{x} = 4.54, SD = 0.50) Second, Third and fourth were the context ( \inline \bar{x} = 4.51, SD = 0.47 and \inline \bar{x} = 4.36, SD = 0.41) product (\inline \bar{x} = 4.28, SD = 0.55 and \inline \bar{x} = 4.33, SD = 0.45) and input ( \inline \bar{x} = 3.97, SD = 0.37 and \inline \bar{x} = 3.99, SD = 0.45) respectively. The knowledge of the EMS Nursing among the course participants showed that post learning EMS Nursing course were significantly higher than pre learning that course (p < 0.001). However, the course participants suggested increasing course period, improving knowledge and skills related to care in babies, So that the course managers should take the evaluation result for improving the curriculum to more effectiveness.

Downloads

How to Cite

1.
สู่วิทย์ บ, ทำมาก เ, เหลาสุภาพ น, พิทักษาวรากร พ. การประเมินหลักสูตรพยาบาลกู้ชีพของคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช An Evaluation of Emergency Medical Service Nursing Course of Kuakarun Faculty of Nursing, Navamindradhiraj University. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Sep. 16 [cited 2024 Apr. 20];16(2):41-9. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/39660