ปัจจัยทำนายการปรับตัวของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง Predictive Factors for Adaptation Among Caregivers of Stroke Patients

Authors

  • กฤษณีย์ คมขำ คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ดวงใจ รัตนธัญญา ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ีกีรดา ไกรนุวัตร ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ภาระการดูแล, การสนับสนุนทางสังคม, โรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ดูแล, การปรับตัว, Burdens, Social Support, Stroke, Caregivers, Adaptation

Abstract

การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของผู้ดูแล และศึกษาปัจจัยทำนายการปรับตัวของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้ทฤษฎีการปรับตัวของรอยเป็นกรอบแนวคิด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เป็นสมาชิกภายในครอบครัวของผู้ป่วยจำนวน 127 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง สถานที่เก็บข้อมูล คลินิกอายุรกรรมระบบประสาท และที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามภาระในการดูแล แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินสุขภาพ แบบสอบถามการเข้ารับบทบาทผู้ดูแล และแบบสอบถามการปรับตัวของผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณแบบ Stepwise  ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลปรับตัวได้ในระดับปานกลาง ปัจจัยภาระในการดูแล การสนับสนุนทางสังคม และการเข้ารับ บทบาทผู้ดูแล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .18, p < .05; r = .21, p < .05; r = .36, p < .01 ตามลำดับ) ส่วนสุขภาพของผู้ดูแล และระยะเวลาในการดูแลมีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.05, p > .05; r = -.10, p >.05) สำหรับการเข้ารับบทบาทผู้ดูแล การสนับสนุนทางสังคม และภาระในการดูแล เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .32, p < .00; β = .21, p < .01 ตามลำดับ) และสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการปรับตัวของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 20.4 (R2 = .204, p < .00; t = 4.24, p < .00) จากผลการศึกษาครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพควรให้การสนับสนุนช่วยเหลือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อช่วยผ่อนคลายความรู้สึกภาระในการดูแลผู้ป่วย ส่งเสริมให้ผู้ดูแลและสมาชิกในครอบครัวเห็นความสำคัญของการให้การดูแลผู้ป่วย และยอมรับบทบาทผู้ดูแล เพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับตัวได้อย่างเหมาะสม

The purposes of this research were to study the adaptive behaviors of the caregivers of stroke patients and to study predictive factors on the adaptation of caregivers of stroke patients. Roy’s Adaptation Model Theory is used as the conceptual framework of this research. The Sample composed of 127 caregivers of stroke patients which were family members who take the main responsibility of continually taking care of the patients. The sampling group was selected bypurposive sampling method. The setting were the Neurology Clinic and Neurology Ward of SuratThani Hospital. Research instruments were included questionnaire on general information, the burdens of caregiving, the social support, the health condition evaluation, the acceptance of role as caregivers, and the adaptation of caregivers. Data was analyzed using descriptive statistics, Pearson’s correlation analysis, and stepwise multiple regression analysis. The result showed that caregivers of stroke patients had a medium level of adaptation. The burdens of caregiving, social support, and acceptance of role as caregivers had statistically significant, positive correlation with adaptation of caregivers of stroke patients (r = .18, p < .05; r = .21, p < .05; r = .36, p < .01 respectively). However, caregivers’ health condition and duration of caregiving work are significantly uncorrelated to the adaptation of caregivers of stroke patients: (r = -.054, p > .05; r = -.104, p >.05) respectivelyAcceptance of role, social support, and burdens of caregiving are statistically significant, affective factors to the adaptation of caregivers of stroke patients (β = .32, p < .00; β = .21, p < .01; β = .21, p< .01 respectively). These three variables together can explain 20.4% of the variance of caregivers adaptation (R2 = .204, p < .00; t = 4.24, p < .00) The result of this research recommends that the multidisciplinary team should provide assistance to caregivers of stroke patients in order to reduce the burden of caregiving. In addition promoting the caregivers and other members of their families to recognize the importance of caregiving work and accept the role as
caregiver is the mean to increase the level of adaptation of caregivers adequately.

Downloads

How to Cite

1.
คมขำ ก, รัตนธัญญา ด, ไกรนุวัตร ี. ปัจจัยทำนายการปรับตัวของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง Predictive Factors for Adaptation Among Caregivers of Stroke Patients. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2015 Sep. 16 [cited 2024 Mar. 29];16(2):114-22. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/40294