แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาสมรรถนะชุมชนในการป้องกันและแก้ปัญหา การเกิดโรคพยาธิในชุมชน : สะท้อนคิดวิชาการรับใช้สังคม

Authors

  • จินตนา อาจสันเที๊ยะ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
  • ผ่องศรี อิ่มสอน คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
  • ปานทิพย์ ผ่องอักษร คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

Keywords:

แนวปฏิบัติที่ดี, การพัฒนาสมรรถนะชุมชน, การป้องกันและแก้ปัญหาการเกิดโรคพยาธิในชุมชน, Best practice, Community competency development, Prevention and problem solving in parasite worm infection

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของชุมชนในการป้องกันและแก้ปัญหาการเกิดโรคพยาธิในชุมชน เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาสมรรถนะชุมชนและเพื่อนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีด้วยการสะท้อนคิดวิชาการบริการสังคมในการประยุกต์ใช้ความรู้ในรายวิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาสู่การบริการวิชาการสู่สังคมของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ที่มีการเก็บข้อมูลในเชิงคุณภาพในการพัฒนาสมรรถนะชุมชนในการป้องกันโรคพยาธิ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนในชุมชนรอบวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 115 คน ด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกและจัดทำกลุ่มกับผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 10 คน สร้างเครื่องมือการวิจัยตามกระบวนการดำเนินงานวงจรเดมิง (PDCA) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1) การวางแผน (Plan) สำรวจประเด็นความต้องการของชุมชน ขั้นตอนที่ 2) การดำเนินงาน (Do) การศึกษาความเป็นไปได้โครงการเสริมสร้างสมรรถนะและกิจกรรมในการบริการวิชาการ ขั้นตอนที่ 3) การตรวจสอบ (Check) ติดตามและประเมินผลโครงการเสริมสร้างสมรรถนะ กิจกรรม เพิ่มพูนความรู้ทักษะ และขั้นตอนที่ 4) การปรับปรุง (Action) ทบทวนแนวปฏิบัติในการพัฒนาสมรรถนะชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยเป็นกระบวนการ (Process) ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนเมืองมีความเป็นตัวเองสูง การทำกิจกรรมในชุมชนนั้นต้องคำนึงถึงเวลาที่จำกัดและต้องยืดหยุ่นมีกล่มุ ผู้สูงอายุยินดีเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ มีจิตอาสา ดังนั้นแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาสมรรถนะชุมชนในการปอ้ งกนั และแก้ปัญหาการเกิดโรคพยาธิในชุมชนเมืองนั้นประกอบด้วยกระบวนการพัฒนาสมรรถนะชุมชนมาจากความเข้าใจ การให้ความร่วมมือที่มาจากกระบวนการสร้างองค์ความรู้ของคนในชุมชน การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนด้วยการจัดให้ข้อมูลผ่านสื่อต่าง ๆ มีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง มีการปรับสิ่งแวดล้อมทำความสะอาดบริเวณบ้านและชุมชน รักษาความสะอาดส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อม เรียนรู้ความเชื่อส่วนบุคคลและวัฒนธรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคพยาธิ วางแผนการพัฒนาที่ดีเป็นระบบจัดกิจกรรมให้ความรู้ต้องทำเป็นสื่อนำเสนอบ่อย ๆ เพื่อให้ทุกคนเกิดความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางแก้ไขกับปัญหานั้น เพื่อพัฒนาสมรรถนะชุมชนในการป้องกันการเกิดโรคพยาธิในชุมชน เมื่อทรรศนะพื้นฐานความรู้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับคนในชุมชนจะทำให้แบบแผนการคิดและการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องเกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการนี้จะสามารถเกิดการเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ของชุมชน (Paradigm shift) และสร้างความยั่งยืนจะเป็นแนวปฏิบัติที่ดี จากการเปลี่ยนกระบวนทรรศน์จนได้วิถีการดำรงชีวิตของคนในชุมชน (Mode of Living in community) ซึ่งจะเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาสมรรถนะชุมชนที่เข้มแข็งต่อไป

Best practice for development of community competency in prevention and problem solving in parasite worm : reflective academic service

This study was action research that was to study problem and needs of community for
prevention parasite worm disease, to study the process in developing community competency, and to propose the best practice in reflective academic service through the process in studying of Microbiology subject of the first year nursing students. Qualitative data was collected in developing community competency. Samples were 115 people who living in community around Saint Louis College by in-depth interview and focus group with 10 community leaders and health volunteers. The instruments were created by using Deming Cycle, The cycle was composed of PDCA and began with step 1) Plan for identifying the problems and needs of community in the gap for developing competency, step 2) Do for studying the possible in community developing competency project and for creating intervention in academic service, the step 3) Check for evaluation and activities for increasing skill and knowledge of parasite worm disease prevention, and step 4) Action in review and change of best practice in developing community competency. Content analysis and induction in process were used in data analysis. The findings revealed that urban community has high confident living in oneself to do activities in community and concern with the restricted time. The most elderly people joined in activities and they had the positive thinking and service mind in volunteers. Thus, the best practice for development of community competency in prevention and problem solving in parasite worm composed of the process of understanding in community participation by using media and technology, developmental environment, learning in personal belief and cultural for worm disease prevention, planning and setting the continuous activities of academic services for awaken people in community. The community participation was an important to change behavior for developing competency. When the basic knowledge was occurred in community. It is the time of the paradigm shift and lead to create sustainable in developing community competency based on the mode of Living in community that will be the based practice in developing community competency.


Downloads

How to Cite

1.
อาจสันเที๊ยะ จ, อิ่มสอน ผ, ผ่องอักษร ป. แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาสมรรถนะชุมชนในการป้องกันและแก้ปัญหา การเกิดโรคพยาธิในชุมชน : สะท้อนคิดวิชาการรับใช้สังคม. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2016 Sep. 15 [cited 2024 Apr. 26];17(2):175-83. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/66883