ผลของกิจกรรมเสริมทักษะต่อความรู้ และความมั่นใจ ของนักศึกษาพยาบาลในการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาล ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2

Authors

  • ศรินรัตน์ วัฒนธรนันท์ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
  • นันทิยา แสงทรงฤทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย

Keywords:

กิจกรรมเสริมทักษะ, ความรู้ในการฝึกปฏิบัติ, ความมั่นใจในการฝึกปฏิบัติ, นักศึกษาพยาบาล, nursing skills enhancement program, practical knowledge, practical confidence, nursing students

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรู้และความมั่นใจของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมเสริมทักษะการปฏิบัติการพยาบาลตามปกติ จำนวน 184 คนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบ pair t-test และศึกษาเปรียบเทียบความรู้และความมั่นใจของนักศึกษาพยาบาลในการขึ้นฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2 ระหว่างกลุ่มนักศึกษาพยาบาลที่เข้าร่วมกิจกรรมเสริมทักษะการปฏิบัติการพยาบาลร่วมกับการทำแผนผังความคิดและกลุ่มนักศึกษาพยาบาลที่เข้าร่วมกิจกรรมเสริมทักษะการปฏิบัติการพยาบาลตามปกติ โดยจัดกิจกรรมเสริมทักษะการปฏิบัติการพยาบาล ให้แก่นักศึกษาพยาบาลทั้งสองกลุ่มพร้อมกันก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติงานในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2 ซึ่งกลุ่มทดลอง เป็นนักศึกษาพยาบาลที่ขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลในช่วง 8 สัปดาห์แรกของรายวิชาฯ ให้นักศึกษาทำแผนผังความคิดสรุปความรู้ที่ได้จากกิจกรรมเสริมทักษะการปฏิบัติการพยาบาลในแต่ละหัวข้อ จำนวน 92 คน ส่วนกลุ่มควบคุม เป็นนักศึกษาพยาบาลที่ขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลในช่วง 8 สัปดาห์หลังของรายวิชาฯ จำนวน 92 คนและเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกปฏิบัติให้นักศึกษาจัดทำแผนผังความคิดสรุปความรู้ของแต่ละแหล่งฝึกก่อนการสอบ Objective Structured Clinical Examination (OSCE) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Independent t-test ผลการวิจัย พบว่า คะแนนความรู้และคะแนนความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล ก่อนและหลังการร่วมกิจกรรมเสริมทักษะการปฏิบัติการพยาบาลตามปกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = .000 และ P = .000) ตามลำดับคะแนนความรู้และคะแนนความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการเรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2 ระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = .000 และ P = .003) ตามลำดับ ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมเสริมทักษะการปฏิบัติการพยาบาลร่วมกับการจัดทำแผนผังสรุปความคิดให้แก่นักศึกษาพยาบาลก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2 มีส่วนช่วยให้นักศึกษามีความรู้และความมั่นใจในการฝึกปฏิบัติมากยิ่งขึ้น

Effect of a Nursing Skills Enhancement Program on Knowledge and Confidence in Nursing Students Enrolling in Nursing Care of Adult and Aging Practicum II

The primary objective of this quasi-experimental study was to measure and compare the level of perceived knowledge and confidence of 184 nursing students, with assessment before and after a nursing practice program analyzed by paired t-tests statistics, and compare to the mean differences between two groups: those participating in nursing skills enhancement program coupled with mind-mapping, and the counterpart groups including students taking the regular nursing skills enhancement session. The activities were provided to both groups simultaneously prior to commencing their practicum course entitled Nursing Care of Adult and Aging Practicum II.The experimental group consisted of 92 nursing students attending the first 8-week of the practicum course. They were required to work on mind map assignments for an overview of each topic. The control group included 92 students attending the last 8-week of the practicum. Upon completion of the course, participants were required to submit a comprehensive analysis of the content of mind maps prior to undergoing an objective structured clinical examination (OSCE). Data were analyzed by Independent t-test statistics. The research results were as follows: The significant differences in students’ confidence and knowledge levels were found between pre- and post-intervention (P = .000 and P = .000). Upon completion of the Practicum II course, significant differences in the extent of knowledge and confidence were revealed between the experimental and control groups (P = .000 and P = .003). On the whole, providing practicum preparation sessions through skills enhancement program in conjunction with mind mapping approach contribute to the improvement of knowledge and confidence among nursing students in their clinical setting.

Downloads

How to Cite

1.
วัฒนธรนันท์ ศ, แสงทรงฤทธิ์ น. ผลของกิจกรรมเสริมทักษะต่อความรู้ และความมั่นใจ ของนักศึกษาพยาบาลในการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาล ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 May 3 [cited 2024 Mar. 29];18(1):157-66. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/85293