คำแนะนำการเตรียมและการส่งต้นฉบับ

07-03-2016

 

คำแนะนำสำหรับผู้เขียนในการเตรียมและส่งต้นฉบับ

วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

           กองบรรณาธิการวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอเชิญนักวิจัยทางการพยาบาลและศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านสุขภาพ ส่งบทความทางวิชาการเพื่อลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร บทความที่จะส่งลงตีพิมพ์ต้องไม่เคยลงตีพิมพ์ หรือไม่เคยตีพิมพ์ด้วยภาษาอื่นๆ ในวารสารอื่นมาก่อน ต้นฉบับบทความทุกเรื่องจะได้รับการประเมินก่อนการตีพิมพ์ (Peer review) จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากบรรณาธิการวารสารก่อนที่จะลงตีพิมพ์

 

ประเภทของบทความ

  1. บทความวิชาการด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ ด้านการแพทย์ การพยาบาล การสาธารณสุข การศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. บทความวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ ด้านการแพทย์ การพยาบาล การสาธารณสุข การศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ถ้าเป็นวิทยานิพนธ์ต้องมีหนังสือรับรอง และ ลงนามทั้งอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก และนิสิตผู้ทำวิทยานิพนธ์
  3. บทความปริทัศน์ บทความพิเศษ และปกิณกะ

 

การเตรียมต้นฉบับ

  1. จัดพิมพ์ต้นฉบับด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Word ด้วยอักษร TH SarabanPSK ขนาด 16 point บนกระดาษขนาด A 4 พิมพ์หน้าเดียวเว้นระยะบรรทัด 1 บรรทัด (single space) เว้นระยะห่างจากขอบกระดาษทั้ง 4 ด้าน ด้านละ 1 นิ้ว พิมพ์เลขหน้ากำกับทุกแผ่น และจำนวนเนื้อหาไม่เกิน 12 หน้า (รวม References)
  2. หน้าแรก (ให้เป็นเลขหน้า 0 โดยไม่นับรวมกับเนื้อหา) ให้พิมพ์ชื่อเรื่องภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ ขนาด 20 point และเพิ่มชื่อผู้เขียน คุณวุฒิ ตำแหน่ง และสถานที่ทำงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และ ระบุผู้เขียนหลัก (Corresponding author) โดยใส่เครื่องหมาย * ไว้ท้ายชื่อ และระบุ e-mail address ไว้ด้วย
  3. หน้าถัดมาให้เป็นเลขหน้า 1 ให้พิมพ์ชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้ตรงกลางของหน้าแรกด้วยอักษรขนาด 20 Point และต่อด้วยบทคัดย่อ และ Abstract (ไม่ควรเกิน 250 คำ) และคำสำคัญ (Key words) ไม่ควรเกิน 5 คำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  4. ส่วนประกอบในบทคัดย่อ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของการศึกษา (ไม่ต้องมีส่วนนำ) รูปแบบและวิธีการวิจัย (กลุ่มตัวอย่าง สถานที่และช่วงเวลาเก็บข้อมูล เครื่องมือวิจัย และการวิเคราะห์ข้อมูล) ผลการวิจัย สรุป และข้อเสนอแนะ

บทความวิจัย เรียงลำดับหัวข้อ ดังนี้

  1. การใช้ตัวเลขคำย่อ และวงเล็บควรใช้เลขอารบิกทั้งหมดใช้คำย่อที่เป็นสากลเท่านั้น การวงเล็บภาษาอังกฤษ ควรใช้ Capital Letters เช่น Student Centered Learning
  2. ตารางและภาพประกอบ ให้ระบุชื่อตารางไว้เหนือตารางแต่ละตารางและระบุชื่อภาพแต่ละภาพไว้ใต้ภาพนั้น ๆ เว้นบรรทัดเหนือชื่อตาราง และเหนือรูปภาพ 1 บรรทัด และเว้นใต้ตาราง และใต้ชื่อภาพ 1 บรรทัด และจัดเรียงตามลำดับหรือหมายเลขที่อ้างถึงในบทความ คำบรรยายประกอบ ตารางหรือภาพประกอบควรสั้นและชัดเจน ภาพถ่ายให้ใช้ภาพขาวดำหรือสีก็ได้ ภาพต้องเป็นภาพที่มีความคมชัด ส่วนภาพเขียนลายเส้นต้องชัดเจน มีขนาดที่เหมาะสม กรณีคัดลอกตารางหรือภาพมาจากที่อื่น ให้ระบุแหล่งที่มาใต้ตารางและภาพประกอบนั้น ๆ ด้วย
  3. บทความวิจัย ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

- บทคัดย่อ (ภาษาไทย)

- บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)

- บทนำ

- วัตถุประสงค์วิจัย

- สมมติฐาน (ถ้ามี)

- กรอบแนวคิดการวิจัย

- ระเบียบวิธีวิจัย

- ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

- เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

- การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

- การเก็บรวบรวมข้อมูล

- การวิเคราะห์ข้อมูล

- จริยธรรมวิจัย

- ผลการวิจัย

- อภิปรายผล

- การนำผลการวิจัยไปใช้

- ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

- References

  1. บทความวิจัย (ภาษาอังกฤษ) ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

- Abstract (in Thai)

- Abstract

- Introduction

- Objectives

- Hypotheses (if available)

- Conceptual Framework

- Methods

- Population and Sample

- Research Instrument

- Validity and Reliability of the Research Instrument

- Data Collection

- Data Analysis

- Ethical Consideration/Informed Consent

- Results

- Discussion

- Implication of the Results

- Recommendation for Further Study

- References

  1. บทความวิชาการ ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

- บทคัดย่อ

- Abstract

- บทนำ

- เนื้อเรื่อง (แสดงสาระสำคัญที่ต้องที่ต้องการนำเสนอตามลำดับ)

- สรุป

- ข้อเสนอแนะ

- References

  1. บทความวิชาการ (ภาษาอังกฤษ) ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

- Abstract (in Thai)

- Abstract

- Introduction

- Content (แสดงสาระสำคัญที่ต้องที่ต้องการนำเสนอตามลำดับ)

- Conclusion

- Suggestion

- References

  1. การใช้ภาษาไทยโดยยึดหลักของราชบัณฑิตสถาน หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาอังกฤษในข้อความภาษาไทย ยกเว้นกรณีจำเป็นและไม่ใช้คำย่อ นอกจากเป็นคำที่ยอมรับกันโดยทั่วไป การแปลศัพท์อังกฤษเป็นไทย หรือการเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษให้ยึดหลักของราชบัณฑิตสถาน
  2. การใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษในเนื้อเรื่องภาษาไทย ให้ใช้อักษรตัวพิมพ์เล็ก ยกเว้นชื่อเฉพาะให้ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ กรณีบทความภาษาอังกฤษ ใช้แบบ American English
  3. การอ้างอิงทั้งในเนื้อหา และ References เขียนด้วยภาษาอังกฤษ โดยใช้ APA 6th edition style ไม่เกิน 20 ชื่อ และเอกสารที่ใช้อ้างอิงไม่เก่าเกิน 10 ปี ยกเว้นตำรา หรือเอกสารทฤษฎีบางประเภท หากเอกสารอ้างอิงนั้นเขียนเนื้อหาเป็นภาษาไทย ให้ปรับเป็นภาษาอังกฤษ แล้วต่อท้ายด้วยคำว่า [In Thai]

 

การส่งบทความ

  1. การส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์ ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามระเบียบประกาศของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบุรพา โดยชำระเงิน ได้ 2 ช่องทาง

    1. ชำระด้วยเงินสด
    2. โอนเงินเข้าบัญชี

    (  386-1-00442-9 ธนาคารกรุงไทย สาขาแหลมทองบางแสน ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยบูรพา  )

    แจ้งส่งหลักฐานการโอนเงินได้ที่ 

    1. ฝ่ายวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
    2. Scan ส่ง e-mail : jnurse@nurse.buu.ac.th

    จากนั้น Submission บทความในระบบ online ทาง

    : https://www.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/author/submit/1

โดยจัดส่งไฟล์เพื่อ upload ประกอบด้วย 3 ไฟล์ คือ

1) หน้า ‘0’ ที่มีแต่ชื่อเรื่องและชื่อผู้เขียน,

2) หน้า ‘1-12’ ที่มีชื่อเรื่อง บทคัดย่อ abstract เนื้อหา และ References, และ

3) หนังสือรับรองที่ผู้เขียนลงนามและกรอกข้อมูลครบถ้วน

**หมายเหตุ : ขอให้ท่านแนบต้นฉบับบทความที่เป็น ไฟล์ Word เป็นไฟล์สุดท้าย เพื่อให้ระบบทำการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน

( download แบบฟอร์มได้ที่นี่

  1. ส่งต้นฉบับบทความทั้งหมดทาง E-mail: jnurse@nurse.buu.ac.th

 

หมายเหตุ  

  1. หากบทความของท่านไม่ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ ฝ่ายวารสารขอสงวนสิทธิ์ในการคืนค่าใช้จ่ายดังกล่าว
  2. การเขียนอ้างอิง ใช้แบบ APA 6th edition ซึ่งสามารถ download และศึกษาตัวอย่างได้จาก

    URL: http://www.edu.buu.ac.th/webnew/jform/journal-ref.pdf

 

 

 

การอ้างอิง 

ตัวอย่างการแปลบรรณานุกรมภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ

 

มหาวิทยาลัยกรุงเทพมีความพยายามที่จะพัฒนาคุณภาพวารสาร โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันวารสารวิชาการเข้าสู่ฐานข้อมูล ACI ซึ่งเป็นฐานข้อมูลระดับอาเซียน และฐานข้อมูล Scopus ซึ่งเป็นฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ดังนั้น กองบรรณาธิการวารสารฯ จึงกาหนดรูปแบบการเขียนบรรณานุกรมที่เป็นรายการอ้างอิงเป็นของคนไทย ดังนี

  1. รายการอ้างอิงที่เป็นของคนไทยในบรรณานุกรมจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการ โดยจัดเรียงคู่กัน คือ เรียงบรรณานุกรมภาษาอังกฤษที่แปลขึ้นก่อนและเติมคำว่า “(In Thai)” ต่อท้ายและตามด้วยบรรณานุกรมภาษาไทย
  2. การเรียงลำดับในการอ้างอิงในบรรณานุกรม กรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายการอ้างอิงจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ให้ยึดยึดตัวอักษรภาษาไทยในการเรียงลำดับ

 

 หมายเหตุ การให้ผู้เขียนจัดเรียงลักษณะนี้เพื่อให้กองบรรณาธิการใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของการอ้างอิง สาหรับขั้นตอนการตีพิมพ์ทางกองบรรณาธิการจะเป็นผู้ปรับย้ายรายการอ้างอิงที่แปลเป็นภาษาอังกฤษไปอยู่ในหัวข้อ “Translated Thai References”

 

รูปแบบการเขียนแสดงตัวอย่างดังต่อไปนี้

  1. ตัวอย่างการแปลบรรณานุกรมภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ

 

1.1 ตัวอย่างบรรณานุกรมที่เป็นหนังสือ

สุวิมล ติรกานันท์. (2553). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แปลเป็น

Tirakanan, S. (2011). Multivariate variables analysis in social science research. Bangkok:

Chaulalongkorn University Printing House. (in Thai)

 

1.2 ตัวอย่างบรรณานุกรมที่เป็นบทความ

นุจรี ไชยมงคล. (2554). ประสบการณ์ของบิดามารดาที่ลงนามยินยอมให้บุตรรับการผ่าตัด. วารสารคณะ

พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 19(2), 42-53

แปลเป็น

Chaimongkol, N. (2011). Parents' Experiences of Giving Informed Consent for Their Children

Undergone Surgery. The Journal of Factory of Nursing Burapha University, 19(2),

42-53. (in Thai)

.

สุวรรณี ลัคนวณิช. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล พฤติกรรมการใช้ชีวิต และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ของนักศึกษาที่ใช้ชีวิตในที่พักเอกชน ย่านรังสิต จังหวัดปทุมธานี. BU Academic Review,

13(1), 13-16.

แปลเป็น

Luckanavanich, S. (2014). Personal relationship, living behaviors, and academic

achievement of university students in the private residence, rangsit area,

Pathumthani. BU Academic Review, 13(1), 13-16. (in Thai).

 

1.3 ตัวอย่างบรรณานุกรมข้อมูลจากเว็บไซต์

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2556). สถานการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขาเข้าใน

ปี 2555. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2557, จาก http://www.2tat.or.th/stat/web/statistic_tst.php

แปลเป็น

Tourism Authority of Thailand. (2013). Inbound foreign tourists situation in 2012. Retrieved

February 9, 2014, from http://www.2tat.or.th/stat/web/statistic_tst.php (in Thai)

 

 

 

 

 

 

 

  1. การอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่อง ใช้ระบบนาม ปี (Name – year system ) โดยเน้นเป็นภาษาอังกฤษตามแบบ APA 5th Edition กรณีผู้แต่งไม่เกิน 6 คน ให้เขียนชื่อผู้แต่งทุกคน ในการอ้างอิงถึงครั้งแรก และถ้ามีการอ้างอิง ถึงอีกให้ใช้และคณะหรือ et al. ต่อท้ายชื่อผู้แต่งคนแรก แต่ถ้ามากกว่า 6 คนขึ้นไปใช้เขียนชื่อผู้แต่งคนแรกตามด้วยและคณะหรือ et al. ในการอ้างอิงทุกครั้ง ดังตัวอย่างเช่น

            -  สำหรับจังหวัดเพชรบูรณ์พบอัตราตายด้วยโรคเบาหวานในปี พ.ศ. 2555 เท่ากับ 10.68 ต่อแสนประชากร (Health statistics, 2012) ภาวะแทรกซ้อน......

            -  ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในทางที่เสื่อม ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์และสังคม...... Sungvorawongphana, N. (2005)

-  Tirakanan, S. (2011). Multivariate variables analysis in social science research. Bangkok: Chaulalongkorn University Printing House. (in Thai)

            -  Wanchuserm, Y. (2551) ศึกษาจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวิถีพุทธ...... (in Thai)

            -  Tanyong, V. , Chaisiri, K. , Yernwong, M. and Terathamakorn, C. (2555) ..... (in Thai)

            -  Bradley, Ramirez, Soo, and Walsh (2006) …… (in Thai)

 

  1. การคัดลอกข้อความ ใช้ระบบนามนามปีพร้อมระบุเลขหน้าและให้ข้อความที่คัดลอกมาอยู่ในเครื่องหมาย “………” ดังตัวอย่างเช่น

            “การปรับวิสัยทัศน์ พบว่ารูปแบบภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด

กรุงเทพมหานคร” (Jammueng, J. , 2005, P.150)

 

  1. การอ้างอิงท้ายบทความ

                   3.1  เอกสารที่อ้างถึงในเนื้อเรื่อง ต้องเขียนไว้ในรายการเอกสารอ้างอิงท้ายเรื่องทุกเรื่อง

                   3.2  เรียงตามลำดับตัวอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งไม่ต้องใช้หมายเลขกำกับ

                   3.3  ถ้าผู้แต่งคนเดียวกันให้เรียงลำดับตามปีที่พิมพ์

                   3.4  การพิมพ์เอกสารอ้างอิงแต่ละรายการ ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย

 

การเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายเรื่อง

            1  หนังสือที่ผู้แต่งเขียนเอง

Lerkjarisawas, P. (2012). Fundamentals Of Heat Treatment Of Steels. Bangkok:

Chaulalongkorn University Printing House. (in Thai)

Cunningham, F. G. (2005). William obstetrics (22th  ed.). New York: McGraw - Hill.

            

2  หนังสือที่มีบรรณาธิการ

Rungwalawan, P. , Editors. (2010). คนละไม้คนละมือ. Ratchaburi: Coordinating Center of

Alumni Mary Immaculate Seminary . (in Thai)

Diener, H. C., & Wilkinson, M., Eds.  (1988). Drug-induced headache. New York:

Springerverlag.

            

  1. การเขียนอ้างอิงเฉพาะบทในหนังสือที่มีบรรณาธิการ

Chairomprasit, C. (2007) Hypertension. In Sritha (Editors), Medical Textbook 4

(Pages 176-199). Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Spross, J. A. (2009). Expert coaching and guidance. In A. B. Hamric, J. A. Spross, & C. M.

Hanson (Eds.), Advance nursing practice: An integrative approach (4th ed., pp.

159-190). St. Louis: Saunders Elsevier.

            

 

 

 

  1. การเขียนอ้างอิงจากปริญญานิพนธ์

Pattana, N. (2012). Effects of Social Support Programe on Anxiety And Satisfaction of Acute

Myocardial Infarction Patiens at Intensive Care Unit. Master of Nursing Science

Thesis, Adult Nursing, Faculty of Nursing, Burapha University (in Thai)

            

  1. การเขียนอ้างอิงบทความในวารสาร

Kanmali Y. (2014). The Development of Training Curriculum for New Nurse by Intelligence

in Caring. The Journal of Factory of Nursing Burapha University, 22(2),

1-14. (in Thai)

Hopkin, A. S., & Cutfield, S.W. (2011). Exercise in pregnancy: Weighing up the long –

term impact on the next generation. Exercise on Sport Reviews, 39(2), 120 - 127.

            

  1. การเขียนอ้างอิงเอกสารการประชุมวิชาการหรือการสัมมนาทางวิชาการ

Sriwong, H. (2011). Relationship between job characteristics. Ability to work And

organizational climate and work happiness of the emergency department nurses in community hospitals in the central region. At the National Academic Conference and Research Presentation Chulalongkorn University: Research and Development Institute (page 1-13) Rajanagarindra Rajabhat University

Ramesh, S. (2012). Preparation and evaluation of nanoparticles for sustained delivery of

ampicillin, In Proceedings of the Burapha University International Conference

2012, global change: Opportunity & risk (pp. 351-357). Chonburi: Burapha University.

 

  1. การเขียนอ้างอิงจากเว็บไซด์ 

ให้เขียนตามรูปแบบของหนังสือ บทความ ตามประเภทดังกล่าวโดยไม่ต้องระบุวันที่ค้นข้อมูล

 

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับ

ที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554). เข้าถึงได้จาก http://www.Idd.go

Tan, G., & Lewandowsky, S. (1996). A comparison of operator trust in humans versus

machines. In The CybErg 96 Virtual Conference. Retrieved from http://www.curtin.edu.au/conference/cyberg/centre/outline.cgi/frame?dir=tan

            

  1. การเขียนอ้างอิงที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางสถิติสำหรับข้อมูลที่อ้างอิงมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง เช่น ข้อมูลสถิติ ให้ระบุวันที่เข้าถึงข้อมูลด้วย

Office of Agricultural Economics Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2012) Export

statistics of Jasmine rice: volume and value of monthly export. August 15, 2012,

accessed from http://www.oae.go.th/oae_report/export_import/export_result.php 

 

การส่งต้นฉบับเพื่อพิจารณาตีพิมพ์

            1. ผู้เขียนบทความจะต้องสมัครเป็นสมาชิกวารสาร 3 ปี และต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งบทความตีพิมพ์บทความละ 2,000 บาท (สองพันบาทถ้วน)

            2. ก่อนส่งต้นฉบับผู้เขียนควรตรวจสอบความถูกต้องทั้งหมดอย่างละเอียดถี่ถ้วนว่าทำตามคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับ และไม่ควรมีคำผิด

            3. ส่งต้นฉบับ 3 ชุด ในรูปแบบไฟล์ Word โดยชุดที่ 1 ใส่ชื่อผู้เขียน คุณวุฒิ ตำแหน่ง ที่ทำงาน ส่วนชุดที่ 2 และ 3 เป็นข้อมูลต้นฉบับที่ปกปิดชื่อและข้อมูลของผู้เขียน เพื่อส่งผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ

 

การแจ้งผลพิจารณาบทความ

            เมื่อบรรณาธิการได้รับต้นฉบับแล้วจะแจ้งตอบรับการได้รับบทความ และจะดำเนินการส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ และแจ้งผลการอ่านให้ผู้เขียนพิจารณาปรับปรุงแก้ไขและส่งกลับภายใน 2 สัปดาห์ ทั้งนี้การประสานงานเพื่อปรับปรุงแก้ไขความถูกต้องด้านวิชาการและอื่นๆ ประมาณ 2 ครั้ง

 

การตรวจต้นฉบับก่อนตีพิมพ์

          ผู้เขียนต้องตรวจทานพิสุจน์อักษรในลำดับสุดท้าย เพื่อให้ความเห็นชอบในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหาก่อนตีพิมพ์