การพัฒนาโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยวัณโรคปอด

Main Article Content

ปาจรีย์ ตรีนนท์
พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์
อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ

Abstract

บทคัดย่อ:

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาโปรแกรมการวางแผนจำหน่าย
ผู้ป่วยวัณโรคปอด ซึ่งประเมินจากความรู้ ความพึงพอใจ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง โดย
ประยุกต์ใช้แนวคิดการวางแผนจำหน่ายอย่างต่อเนื่องของรอด์เดนและทราฟท์ เป็นกรอบแนวคิดในการสร้างโปรแกรมการวางแผนจำหน่าย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 2 และอายุรกรรมหญิง 2 โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 ได้กลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 30 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 3 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามความรู้เรื่องวัณโรคปอด แบบสอบถามความพึงพอใจต่อโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายในผู้ป่วยวัณโรคปอด และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคปอด วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที (paired t-test) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ได้รับโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายมีความรู้เรื่องวัณโรคปอดหลังเข้าร่วมโปรแกรมเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเข้าโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ได้รับโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการวางแผนจำหน่ายอยู่ในระดับมากที่สดุ และมีคะแนนเฉลีย่ พฤติกรรมการดูแลตนเองหลงั ได้รับโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายอยู่ในระดับดี ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยวัณโรคช่วยเพิ่มความรู้ ความพึงพอใจ และพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคปอด จึงมีความเป็นไปได้ในการนำโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยวัณโรคปอดไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องต่อไป


คำสำคัญ: การวางแผนจำหน่าย ผู้ป่วยวัณโรคปอด ความรู้ ความพึงพอใจ พฤติกรรมการดูแลตนเอง

 

Abstact:

The present study aimed at developing a discharge planning program for persons with pulmonary tuberculosis by assessing their knowledge, satisfaction, and self-care behavior. The concept of continuous discharge planning proposed by Roden and Taft (1990) was employed as the conceptual framework of the study. The study sample, selected by means of purposive sampling, consisted of 30 persons with pulmonary tuberculosis who were admitted into the male medical ward 2 and female medical ward 2 of Sanpasithiprasong Hospital, Ubon Ratchathani Province between June and August 2012. Data were collected with three sets of questionnaires—the knowledge about pulmonary tuberculosis questionnaire, the satisfaction
with discharge planning for persons with pulmonary tuberculosis questionnaire, and the selfcare behavior of persons with pulmonary tuberculosis questionnaire. Data were analyzed in
terms of frequency, percentage, mean, standard deviation, and paired t-test. The study findings revealed that after participating in the program persons with pulmonary tuberculosis who received the discharge planning program had higher knowledge of pulmonary tuberculosis than before participating in the program with statistical significance. Moreover, the mean score
of satisfaction with the discharge planning of persons with pulmonary tuberculosis who participated in the discharge planning program was highest and the mean score of self-care
behavior after participating in the discharge planning program was at a good level. The study findings revealed that the discharge planning program increased knowledge, satisfaction, and self-care behavior of persons with pulmonary tuberculosis. Thus, the program is feasible for implementation as a clinical nursing practice guideline to provide continuous care to persons
with pulmonary tuberculosis who are admitted into the hospital.


Keywords: Discharge planning, Pulmonary tuberculosis, Knowledge, Satisfaction, Self-care behavior

Article Details

How to Cite
1.
ตรีนนท์ ป, เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์ พ, ศิริพิทยาคุณกิจ อ. การพัฒนาโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยวัณโรคปอด. Nurs Res Inno J [Internet]. 2014 Jun. 30 [cited 2024 Apr. 24];20(1):50-66. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/19196
Section
บทความวิจัย