แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก: การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด

Main Article Content

บุญจันทร์ วงศ์สุนพรัตน์
รัตนาภรณ์ จีระวัฒนะ
ณัฐพิมณฑ์ ภิรมย์เมือง
น้ำเพชร สายบัวทอง

Abstract

บทคัดย่อ

ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดเป็นภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน อาการแสดงในแต่ละคนอาจ แตกต่างกันและมีผลคุกคามต่อคุณภาพชีวิตของผู้เป็นเบาหวาน ซึ่งบุคลากรทางสุขภาพในโรงพยาบาลยังให้การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดแตกต่างกัน จุดมุ่งหมายในการศึกษานี้เพื่อทดสอบการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะนํ้าตาลตํ่าในเลือดที่ได้พัฒนา จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินคุณภาพงานวิจัยและ guideline ต่างๆ โดยพยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงและคณะ และได้รับตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านโรคต่อมไร้ท่อ และเมแทบอลิซึม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาล รามาธิบดี ที่มีภาวะนํ้าตาลตํ่าในเลือด (< 70 มก./ดล.) จำนวน 51 ราย ได้รับการดูแลช่วยเหลือตามแนว ปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก ดังนี้ 1) กลุ่มที่นํ้าตาลในเลือดตํ่าเล็กน้อยถึงปานกลาง (50-69 มก./ดล.) ให้ดื่มนํ้าหวาน 15 กรัม 26 ราย 2) กลุ่มที่นํ้าตาลในเลือดตํ่ามาก (< 50 มก./ดล.) ให้ดื่มนํ้าหวาน 20 กรัม 6 ราย และ 3) กลุ่มที่งดอาหารและนั้าดื่ม หรือไม่รู้สึกตัวให้ 50% กลูโคส 25 กรัม ทางหลอดเลือดดำ 19 ราย และประเมินระดับนํ้าตาลในเลือดหลังจากได้รับนํ้าหวานหรือกลูโคสนาน 15 นาที วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติ Kolmogorov-Smirnov และ paired t-test พบว่า ผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่ม เมื่อได้รับการพยาบาลตาม แนวปฏิบัติ มีระดับนํ้าตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า แนวปฏิบัติ การพยาบาลทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะนํ้าตาลตํ่าในเลือดนี้ สามารถนำไปใช้แก้ไขภาวะนํ้าตาลตํ่า ในเลือดได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ ในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะนํ้าตาลตํ่าในเลือด ให้เป็น มาตรฐานเดียวกันและรวดเร็วยิ่งขึ้น

คำสำคัญ: แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด การพยาบาล ผู้ป่วยเบาหวาน

 

Abstract

Hypoglycemia is an acute complication of diabetes. Its symptoms vary in each person, and can change over time, resulting in threatening to quality of life in persons with diabetes. Healthcare providers in the hospital manage the hypoglycemic persons in different ways. The aim of this study was to compare the clinical nursing practice guideline (CNPG) for management of hypoglycemia in persons with diabetes in the hospital. The sample consisted of 51 persons with diabetes who had blood sugar less than 70 mg/dl and were admitted to medical units, Ramathibodi Hospital. The CNPG for management of hypoglycemia, which was established by advanced practice nurses with approval of endocrinologists in the diabetes care team, was used. According to the CNPG: a) fast-acting carbohydrate 15 gm was given per oral when blood sugar levels were 50-69 mg/dl; b) fast-acting carbohydrate 20 gm per oral was given when blood sugar levels were less than 50 mg/dl; and c) 50% glucose 25 gm intravenous was given for persons with unconscious or nothing per oral (NPO) conditions. Capillary blood glucose (CBG) was recorded at baseline of hypoglycemia and at 15 minutes at follow-up. Data were analyzed using Kolmogorov-Smirnov and paired t-test. The results showed that all of the three groups of hypoglycemic patients had a statistically significant increase in the mean score of CBG. This study suggests that this CNPG for management in hypoglycemic persons can improve blood glucose level and is useful for nursing and health care team.

Keywords: Clinical Nursing Practice Guideline, Hypoglycemia, Nursing management, Diabetes

Article Details

How to Cite
1.
วงศ์สุนพรัตน์ บ, จีระวัฒนะ ร, ภิรมย์เมือง ณ, สายบัวทอง น. แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก: การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 6 [cited 2024 Apr. 16];18(2):166-77. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8936
Section
บทความวิชาการ