การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ ทักษะการเขียนลายไทยพื้นฐานและความพึงพอใจต่อวิชาศิลปะไทย จากการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนลายไทย พื้นฐานร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22

Main Article Content

กิมยานนท์ วังคะฮาต

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ ทักษะการเขียนลายไทย และความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนวิชาศิลปะไทย 1 ระหว่างนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนต่างกัน (เก่ง ปานกลาง และต่ำ) เมื่อได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนลายไทยพื้นฐานร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5/4 
โรงเรียนหนองสูงสามัคคีวิทยาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ภาคเรียนที่ 2 การศึกษา 2554 จำนวน  36 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการเขียนลายไทยพื้นฐานจำนวน 10 ชุด 2) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ 3) แบบวัดทักษะการเขียนลายไทย 4) แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t – test for ependent  Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว (One – way MANOVA)  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถทางการเรียน สูง ปานกลาง ต่ำ เมื่อเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนลายไทยพื้นฐาน เรื่องการเขียนลายกระจังและลายกระหนกร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ ทักษะการเขียนลายไทย และความพึงพอใจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดย พบว่า ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะกับทักษะการเขียนลายไทย แตกต่างกัน ส่วนความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนลายไทยพื้นฐานร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ของนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียน สูง ปานกลาง และต่ำ ไม่แตกต่างกัน

Article Details

Section
บทความวิจัย