การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลพรเจริญ อำเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ

Main Article Content

สุรศักดิ์ เกษงาม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้  มีความมุ่งหมายของการวิจัย ดังนี้  (1) เพื่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก  ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลพรเจริญ   (2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลพรเจริญ จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลต่างกัน

            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้  ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลพรเจริญ  จำนวน  120 คน  การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเคร็จซี่และมอร์แกน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่ามีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ .9013 สถิติในการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติที (Independent sample t-test) และสถิติเอฟ (F-test)

            ผลการวิจัยพบว่า

                 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นเพศชายร้อยละ 20  เพศหญิงร้อยละ 80 อายุต่ำกว่า25 ปี ร้อยละ 2.5  อายุ 25-34 ปี ร้อยละ 5.0 อายุ 35-44 ปี ร้อยละ 40.0  อายุ  45-49 ปี ร้อยละ 43.3 และอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 9.2  สถานภาพการสมรส โสด ร้อยละ5.8  สมรส ร้อยละ 79.2  หม้าย/หย่า/แยก ร้อยละ 15  อาชีพ รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 16.7  เกษตรกรรม ร้อยละ 61.7  ค้าขาย ร้อยละ 13.3  และอื่น ร้อยละ 8.3   รายได้ต่ำกว่า5,000 บาท ร้อยละ 30.0 รายได้5,001-10,000 บาท ร้อยละ 47.5  รายได้ 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 11.7  รายได้15,00 บาทขึ้นไป ร้อยละ 10.8   ระดับการศึกษาประถมศึกษา  ร้อยละ 52.5  มัธยมศึกษา/ปวช./หรือเทียบเท่า ร้อยละ 40.0  อนุปริญญา/ปวส./ปวท./หรือเทียบเท่า  ร้อยละ 1.7  ปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ 5.8  ระยะเวลาการปฏิบัติงาน  ต่ำกว่า 5 ปี ร้อยละ 27.5  5-10 ปี ร้อยละ 25.0  และ มากกว่า10 ปีขึ้นไป  ร้อยละ 47.5 

            การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านแยกตามรายด้าน ดังนี้ 

                 1. ด้านการมีส่วนร่วมค้นหาและวิเคราะห์ปัญหาโรคไข้เลือดออก พบว่าระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง   ขณะที่การมีส่วนร่วมค้นหาและวิเคราะห์ปัญหาโรคไข้เลือดออก เมื่อจำแนกตาม คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่  อาชีพ อายุ สถานภาพสมรส สถานภาพทางเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา และระยะเวลาการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน  

     2. ด้านการมีส่วนร่วมจัดทำแผนดำเนินงานและร่วมลงมือปฏิบัติกิจกรรม  พบว่าระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับ

ปานกลาง ขณะที่การมีส่วนร่วมจัดทำแผนดำเนินงานและร่วมลงมือปฏิบัติกิจกรรม  เมื่อจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ อาชีพ อายุ สถานภาพสมรส สถานภาพทางเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา และระยะเวลาการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน  

     3. ด้านการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผล  พบว่าระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง ขณะที่ ด้านการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผล  เมื่อจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่  อาชีพ อายุ สถานภาพสมรส สถานภาพทางเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา และระยะเวลาการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน   

Article Details

Section
บทความวิจัย