อินโฟกราฟิกและการประยุกต์ในงานสุขภาพและเภสัชกรรม INFOGRAPHIC AND ITS APPLICATIONS IN HEALTH AND PHARMACY

Authors

  • จงกลณี จงพรชัย ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร
  • กฤตติกา ตัญญะแสนสุข ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร
  • ลาวัลย์ ศรัทธาพุทธ ภาควิชาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.นครปฐม

DOI:

https://doi.org/10.14456/tbps.2016.14

Keywords:

อินโฟกราฟิก, สื่อ, สุขภาพ, เภสัชกรรม, infographic, media, health, pharmacy

Abstract

      อินโฟกราฟิก คือ การใช้รูปภาพเพื่อนำเสนอข้อมูล อินโฟกราฟิกมีต้นกำเนิดมาจากการใช้รูปภาพเพื่อการสื่อสารในอดีต มีวิวัฒนาการและเปลี่ยนคำนิยามจนเป็นคำว่า “อินโฟกราฟิก” ที่หมายถึง รูปแบบการเรียนรู้จากการมอง ช่วยเพิ่มความสนใจของผู้รับสาร และลดระยะเวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหา หลักการจัดทำอินโฟกราฟิกประกอบด้วยทักษะ 3 ประการ คือ วิเคราะห์ เรียบเรียงและออกแบบ การจัดทำจะเริ่มจากการแปลงใจความสำคัญของเนื้อหาเป็นรูปภาพ โดยรูปภาพนั้นต้องอธิบายเนื้อหาได้ครบถ้วน เข้าใจง่าย มีสถิติและเอกสารอ้างอิงประกอบเพื่อเพิ่มความน่าสนใจและน่าเชื่อถือ การจัดทำสื่ออินโฟกราฟิกจะใช้เครื่องมือในการพัฒนารูปภาพ ซึ่งมีแบบซอฟต์แวร์ติดตั้งบนคอมพิวเตอร์และแบบใช้งานเลยบนเว็บไซต์ แต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันขึ้นกับความถนัดของผู้พัฒนา ในงานสุขภาพและเภสัชกรรมก็มีการใช้อินโฟกราฟิกอย่างกว้างขวาง และแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะทางเครือข่ายสังคมบนอินเทอร์เน็ต การใช้อินโฟกราฟิกมีบทบาทในด้านนี้มากขึ้น เนื่องจากความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร ความง่ายในการเผยแพร่ผลงานได้หลายช่องทาง และความสามารถของวิธีสื่อสารที่ช่วยเพิ่มความตั้งใจ เปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือพฤติกรรมของผู้รับสาร ซึ่งเป็นประโยชน์ที่สำคัญและจำเป็น ในปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดที่แน่ชัดในการสร้างอินโฟกราฟิก หากต้องการสร้างอินโฟกราฟิกที่ดีและมีประสิทธิภาพ ควรยึดตามหลักการจัดทำสื่อ ดังที่เสนอไปข้างต้น นอกจากนี้ควรประเมินปัจจัยที่มีผลกระทบ เช่น ความสนใจของผู้รับสารต่อเรื่องที่นำเสนอ หรือความสามารถของรูปภาพในการครอบคลุมเนื้อหา เป็นต้น เพื่อให้สื่อที่จัดทำประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

      Infographics is the graphical representation of information which originates from the evolution of pictorial communication in the past.  This has been developed and changed into the new science called “infographics”. Infographics is the pattern of learning from visualization and the aim of infographics is to enhance readers’ interest and to take less time to understand the content of the information. There are 3 main components involved in the creation of infographics, being analytical skills, editing skills and design skills.  Converting the main idea of the content into graphics is the first process of creating an infographic.  The selected graphics have to be able to represent the information completely and must be easy to understand for the readers, as well as referring to statistics and reference documents to increase attention and reliability. Designing infographic media needs tools to create the visuals including computer software and readily available website services. Each tool has its advantages and disadvantages, depending on the creators’ ability. Infographics have been used broadly in health and pharmacy due to the expansion of social networking. As the demand for enhancing communication efficiency increases, infographics are playing a more important role in health and pharmacy. Ease of publication and improved communications along with the changing attitudes and behavior of receivers are very useful and even necessary in health and pharmacy. Nowadays, due to a lack of clear regulations on infographic media creation, creating good and effective infographic media needs to follow the components mentioned earlier. In addition, an evaluation of the factors affecting infographic media creation is necessary, for example readers’ interest in the content representation or whether the visuals cover the overall contents or not, in order to accomplish the infographic creator’s purposes.

Downloads

Published

2016-11-18

Issue

Section

บทความฟื้นฟูวิชาการ