การดูแลสุขภาพแบบทางเลือกและแบบผสมผสานของสตรีตั้งครรภ์ไทยในภาคใต้

Authors

  • เยาวเรศ สมทรัพย์
  • ฐิติพร อิงคถาวรวงศ์

Keywords:

คำสำคัญ, การดูแลสุขภาพแบบทางเลือก การดูแลสุขภาพแบบผสมผสาน สตรีตั้งครรภ์ไทยในภาคใต้ Key words, Alternative care, Complementary care, Pregnant women in the southern region of Thailand

Abstract

บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อสำรวจการดูแลสุขภาพแบบทางเลือกและแบบผสมผสานของสตรีตั้งครรภ์ในภาคใต้

การออกแบบวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือสตรีตั้งครรภ์ในภาคใต้ จำนวน 400 ราย คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2555 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดดูแลสุขภาพแบบผสมผสาน ไม่มีรายใดดูแลสุขภาพแบบทางเลือก เริ่มต้นดูแลสุขภาพแบบผสมผสานตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ (59.25%)และใช้ตั้งแต่การตั้งครรภ์ที่ผ่านมา(62.25%) ครรภ์ปัจจุบัน(100%) วิธีดูแลสุขภาพแบบผสมผสานที่ใช้มาก 5 อันดับแรกคือการนวด (38.4%) สวดมนต์หรือสวดดูอาร์(18.2 %) อาหารเสริม(16%) สุคนธบำบัด(14.4%) และออกกำลังกาย(13%) เป้าหมาย คือ ต้องการมีสุขภาพดี (60.5%) ความถี่ในการใช้ทุกวัน (62.5%)ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 410.35 บาท/คน ผลดีจากการดูแลสุขภาพแบบผสมผสานคือ ไม่มีผลข้างเคียง(46.75%) ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก(54.5%) กลุ่มตัวอย่างต้องการคำแนะนำการดูแลสุขภาพแบบผสมผสาน (66.75%) แหล่งผู้ให้ข้อมูลที่ต้องการ คือ บุคลากรสุขภาพ (65.75%)

ข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทาง ให้ผดุงครรภ์นำไปพัฒนาตนเองด้านความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพแบบผสมผสานในสตรีตั้งครรภ์

Downloads

How to Cite

1.
สมทรัพย์ เ, อิงคถาวรวงศ์ ฐ. การดูแลสุขภาพแบบทางเลือกและแบบผสมผสานของสตรีตั้งครรภ์ไทยในภาคใต้. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2014 Aug. 21 [cited 2024 Mar. 29];29(2):114-26. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/21125