ปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานตามบทบาทคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1

Main Article Content

กรทิพย์ ไตรดำเนินกิจสกุล

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติงานตามบทบาทคณะบริหารสภาเด็ก และเยาวชนอำเภอ ความภาคภูมิใจในตนเอง ความสามารถในการทำงานเป็นทีม การสนับสนุนทาง สังคมจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับอำเภอ และระดับจังหวัด และการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว ของกรรมการในคณะบริหารสภาเด็กและ เยาวชนอำเภอ ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 2) เปรียบเทียบการปฏิบัติงานตามบทบาทของกรรมการใน คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 โดยจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับ การศึกษา และสภาพการพักอาศัย 3) ศึกษาความภาคภูมิใจในตนเอง ความสามารถในการทำงานเป็นทีม การสนับสนุนทางสังคมจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระดับอำเภอและระดับจังหวัด การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว เป็นปัจจัยที่สนับสนุนการ ปฏิบัติงานตามบทบาทของกรรมการในคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 กลุ่มตัวอย่างเป็น คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 จำนวน 264 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้น สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง เดียวและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการ

ผลการวิจัยพบว่า

1. กรรมการในคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ ในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 มี ระดับความภาคภูมิใจในตนเอง ความสามารถในการทำงานเป็นทีม แรงสนับสนุนทางสังคมจาก สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับอำเภอและ จังหวัด แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว และการปฏิบัติงานตามบทบาทคณะบริหารสภาเด็กและ เยาวชน อยู่ในระดับมาก

2. การปฏิบัติงานตามบทบาทของกรรมการในคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ ในพื้นที่ ภาคกลางตอนล่าง 1 เมื่อจำแนกตาม เพศ อายุ และระดับการศึกษา พบว่า ไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อ จำแนกตามสภาพการพักอาศัย พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว ความสามารถในการทำงานเป็นทีม และแรง สนับสนุนทางสังคมจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน ระดับอำเภอและจังหวัด สามารถร่วมกันทำนายการปฏิบัติงานตามบทบาทคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน อำเภอ ได้ร้อยละ 55 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

 

Abstract

The purposes of this research were 1) to study the levels of self - esteem , team performance , social support , and the practicing role of youth council in local district central area 1 2) to compare the level of the practicing role of youth council in local district central area 1 as classified by sex , age , educational level , living status and 3) to determine self - esteem , team performance , social support , and the practicing role of youth council in local district central area 1. The sample consisted of 264 derived by cluster random sampling technique. Instruments used to collect data were questionnaires constructed by the researcher. Data were analysed for percentage mean , standard deviation , t-test , One-Way ANOVA and the Stepwise Multiple Regression Analysis.

The results found that :

1. self - esteem , team performance , social support , and the practicing role of youth council in local district central area 1 , were at the high level.

2. The role practice of youth council classified by sex , age , educational level were not statistical difference , while living status was significantly different at .05

3. Social support , team performance predicted the role practice of youth council at the percentage of 55 with statistical significance at .001

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ