ปัจจัยด้านการยศาสตร์และอาการผิดปกติโครงร่างกล้ามเนื้อ ของบุคลากรสายสนับสนุนในโรงพยาบาลที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์

Authors

  • พาวิณี ใจบาน โรงพยาบาลลำพูน
  • วีระพร ศุทธากรณ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ธานี แก้วธรรมานุกูล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ปัจจัยด้านการยศาสตร์, กลุ่มอาการผิดปกติโครงร่างกล้ามเนื้อ, บุคลากรสายสนับสนุนในโรงพยาบาล

Abstract

บทคัดย่อ
กลุ่มอาการผิดปกติโครงร่างกล้ามเนื้อเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนทำงานกับคอมพิวเตอร์ การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการยศาสตร์ อัตราความชุกของกลุ่มอาการผิดปกติโครงร่างกล้ามเนื้อและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการยศาสตร์และกลุ่มอาการผิดปกติโครงร่างกล้ามเนื้อของบุคลากรสายสนับสนุนในโรงพยาบาลที่ทำ งานกับคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 285 คน เป็นบุคลากรสายสนับสนุนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งการรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านการยศาสตร์และกลุ่มอาการผิดปกติโครงร่างกล้ามเนื้อซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 และค่าความเชื่อมั่นของส่วนที่เกี่ยวกับปัจจัยด้านการยศาสตร์เท่ากับ 0.8 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการหาความสัมพันธ์แบบอัตราส่วนออด(odds ratio)
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างทุกคนสัมผัสปัจจัยด้านการยศาสตร์ทั้งในด้านท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมและท่าทางการทำงานที่มีการเคลื่อนไหวซ้ำๆ โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ16.1 มีท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมในระดับเสี่ยงและกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 43.9 มีท่าทางการทำงานที่มีการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ  ในระดับเสี่ยง ส่วนอัตราความชุกของกลุ่มอาการผิดปกติโครงร่างกล้ามเนื้อในช่วง12 เดือนและ 7 วันก่อนการศึกษาเท่ากับร้อยละ 92.3และร้อยละ 74.0ตามลำดับ โดยพบว่าตำแหน่งคอ ไหล่และหลังส่วนล่างมีการเกิดอาการผิดปกติสูงที่สุด  สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการยศาสตร์และอาการผิดปกติโครงร่างกล้ามเนื้อพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมในระดับเสี่ยงมีอัตราส่วนการเกิดกลุ่มอาการผิดปกติโครงร่างกล้ามเนื้อในช่วง 12 เดือนและ7 วันก่อนการศึกษาเป็น 2 เท่า (95% CI= 0.4 –8.9) และ1.9 เท่า (95% CI= 0.8 – 4.2) ของกลุ่มที่มีท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมในระดับที่ไม่เสี่ยงตามลำดับ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีท่าทางการทำงานที่มีการเคลื่อนไหวซ้ำๆ ในระดับเสี่ยงมีอัตราส่วนการเกิดกลุ่มอาการผิดปกติโครงร่างกล้ามเนื้อในช่วง 12 เดือน และ7วัน ก่อนการศึกษาเป็น 1.7 เท่า (95% CI= 0.6 –4.4)และ0.9 เท่า (95% CI= 0.5 –1.5)ของกลุ่มที่มีท่าทางการทำงานที่มีการเคลื่อนไหวซ้ำๆในระดับที่ไม่เสี่ยงตามลำดับ
โดยสรุปการศึกษาครั้งนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม มีท่าทางการทำงานที่มีการเคลื่อนไหวซ้ำๆรวมถึงอัตราการเกิดกลุ่มอาการผิดปกติโครงร่างกล้ามเนื้อในอัตราความชุกที่สูง ซึ่งพยาบาลอาชีวอนามัยและบุคลากรทีมสุขภาพควรนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผนโปรแกรมการป้องกันและลดการเกิดกลุ่มอาการผิดปกติโครงร่างกล้ามเนื้อของบุคลากรสายสนับสนุนในโรงพยาบาลที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์
คำสำคัญ: ปัจจัยด้านการยศาสตร์ กลุ่มอาการผิดปกติโครงร่างกล้ามเนื้อ บุคลากรสายสนับสนุน ในโรงพยาบาล

Abstract
Musculoskeletal disorders (MSDs) have become a critical occupational health problem among people who work with computer.  The purpose of this correlational descriptive study was to examine ergonomic factors, prevalence rate of MSDs and the association between ergonomic factors and MSDs among hospital support staff who work with computer.  Participants were 285 support staff working with computers in one general hospital.  Data were collected using a questionnaire about ergonomic risk factors and MSDs.  The questionnaire was examined by 5 experts and had a content validity index of 1.  The reliability of section related to ergonomics risk factors was 0.8.  Data were analyzed using descriptive static and odds ratio.
The result of study
Study found that all study participants were exposed to ergonomic factors of both awkward working posture and repetitive working posture.  Sixteen point one percent of participants who had an awkward working posture were at-risk level and 43.9 % who had a repetitive working posture where at risk level.  The prevalence rates of MSDs during 12 months and at 7 days prior to this study were 92.3 % and 74.0%, respectively.  Most of the disorders were found at the neck, shoulders, and lower back.  With regards to the   relationship between ergonomic factors and MSDs, participants who had an awkward working posture and at risk level had a ratio of MSDs at 2.0 (95% CI= 0.4 – 8.9) and 1.9 (95% CI= 0.8 – 4.2), at 12 months and at 7 days prior to this study respectively, compared to those who had awkward working postures were at no risk level.  Participants who had repetitive working posture and at risk level had a ratio of MSDs at 1.7 (95% CI= 0.6 – 4.4) and 0.9 (95% CI= 0.5 - 1.5), at 12 months and at 7 days prior to this study respectively, compared to those who had repetitive working posture at no risk level.
In conclusion, the study found high prevalence rate of awkward working postures, repetitiveworking posture and MSDs among this study group. Occupational health nurses and healthprofessionals should use these findings to plan a prevention and a MSDs reduction programfor hospital support staff who work with computers.
Key Words: Ergonomic Factors, Musculoskeletal Disorders, Hospital Supporting Staffs

Downloads

How to Cite

ใจบาน พ., ศุทธากรณ์ ว., & แก้วธรรมานุกูล ธ. (2014). ปัจจัยด้านการยศาสตร์และอาการผิดปกติโครงร่างกล้ามเนื้อ ของบุคลากรสายสนับสนุนในโรงพยาบาลที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์. Nursing Journal CMU, 40(6), 1–11. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/19078