ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานและความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ

Authors

  • บุญพิชชา จิตต์ภักดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เรมวล นันท์ศุภวัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อรอนงค์ วิชัยคำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ความสุขในการทำงาน, ความตั้งใจคงอยู่ในงาน, พยาบาลวิชาชีพ

Abstract

บทคัดย่อ
ความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารต้องส่งเสริมเพื่อให้การธำรงค์รักษาบุคลากรไว้ในหน่วยงาน ความสุขในการทำงานเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ส่งผลต่อการคงอยู่ในงานของพยาบาลการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาเพื่อหาความสัมพันธ์  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสุขในการทำงาน ความตั้งใจคงอยู่ในงานและหาความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานกับความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลของรัฐ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐในเขตภาคเหนือ จำนวน 249คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความสุขในการทำงานที่ เบญจวรรณ มาลัยรุ่งสกุล, (2552)  สร้างขึ้นจากแนวคิดของวาร์ (Warr, 2007) ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรม และ 3) แบบวัดความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งดัดแปลงมาจากเครื่องมือของ จาริณี ศรีประเสริฐ และอวยพร  ตัณมุขยกุล โดยใช้สถิติบรรยายและการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสุขในการทำงานของกลุ่มตัวอย่าง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x?= 6.27; S.D.=1.26)
2. ความตั้งใจคงอยู่ในงานของกลุ่มตัวอย่าง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x?  = 10.2; S.D.=4.38)
3. ความสุขในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความตั้งใจคงอยู่ในงานของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01(r =0.44)
ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการรักษาให้พยาบาลวิชาชีพคงอยู่ในงานนานขึ้น ช่วยลดปัญหาการลาออกโอนย้ายของพยาบาลต่อไป
คำสำคัญ: ความสุขในการทำงาน ความตั้งใจคงอยู่ในงาน พยาบาลวิชาชีพ

Abstract
Intent to stay among nurses is an important issue that nurse administrators have to enhance in order to maintain personnel in their organizations.  Happiness at work is a   significant factor influencing intention to stay among nurses.  This correlational descriptive study aimed to describe happiness at work and intent to stay among professional nurses as well as to examine relationships between happiness at work and intent to stay among nurses in public hospitals.  The study samples were 249 professional nurses working in public hospitals in the northern region.  The research instrument consists of: 1) the Demographic Data Form, 2) Happiness at Work Questionnaire developed by Benjawan Malairungsakul, Raymoul  Nantsupawat, and Bunpitcha Chitpakdee based on Warr’s concept (Warr, 2007) and literature review, 3) Intent to Stay of Professional Nurses Questionnaire modified from Jarinee Sriprasert and Ouyporn Tonmukayakul’s instrument. data were analyzed using descriptive statistics and Spearman rank–order correlation.
The results of study
1. Happiness at work among the sample was at a moderate level (x̅ = 6.27; S.D. = 1.26)
2. Intent to stay among the sample was at a moderate level (x̅ = 10.2; SD = 4.38)
3. Happiness at work positively moderately correlated with intent to stay among the sampleat the significance level of 0.01 (r = 0.44)
The results of this study can be used as the guidelines to longer retain professional nursesin their jobs, and alleviate nurse turnover problem.
Key words: Happiness at Work, Intention to Stay, Professional Nurses

Downloads

How to Cite

จิตต์ภักดี บ., นันท์ศุภวัฒน์ เ., & วิชัยคำ อ. (2014). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานและความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ. Nursing Journal CMU, 40(6), 33–44. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/19081