ระยะและกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงในการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงของคนงานโรงงานผลิตมันฝรั่งทอดกรอบ

Authors

  • อำนาจ วงศ์เจริญ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
  • ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ธานี แก้วธรรมานุกูล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ระยะของการเปลี่ยนแปลง, กระบวนการของการเปลี่ยนแปลง, ทฤษฎีเปลี่ยนผ่าน, การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง

Abstract

บทคัดย่อ
การสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดังเป็นปัญหาด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ สามารถป้องกันได้ โดยใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง  การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะและกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงในการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงของคนงานโรงงานผลิตมันฝรั่งทอดกรอบ จำนวน304คน รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2555  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ดัดแปลงจากเครื่องมือของเรมอนด์ และลัสค์(Raymond&Lusk,2006)  โปรชาสกาและคณะ((Prochaska, Velicer,DiClemente, & Fava, 1988) และผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหา ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.85-0.91 ทดสอบความเชื่อมั่นได้ค่าในระดับที่ยอมรับได้ (0.80-1.00) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
ระยะของการเปลี่ยนแปลงในการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงของกลุ่มตัวอย่างที่พบในสัดส่วนสูงสุด คือ ระยะคงไว้ซึ่งพฤติกรรม (ร้อยละ 68.09) รองลงมา คือ ระยะพร้อมปฏิบัติ (ร้อยละ 30.92) และระยะปฏิบัติ (ร้อยละ0.99) ส่วนกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงในการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงของกลุ่มตัวอย่างพบว่า  ระยะคงไว้ซึ่งพฤติกรรมมีความแตกต่างจากระยะพร้อมปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) ทั้งกระบวนการด้านประสบการณ์ ได้แก่ การสร้างเสริมความตระหนัก การระบายความรู้สึกและการใคร่ครวญผลต่อตนเอง และกระบวนการด้านพฤติกรรม ได้แก่ การเสริมแรงในการจัดการและการประกาศอิสรภาพของตนเอง
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าเพื่อส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงอย่างสม่ำ เสมอและต่อเนื่อง พยาบาลอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมควรประยุกต์กระบวนการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเสริมแรงในการจัดการ และการประกาศอิสรภาพของตนเอง เพื่อคงไว้ซึ่งพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง  เช่น การให้รางวัลแก่คนงานที่มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ การสัญญากับตนเองที่จะใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง เป็นต้น
คำสำคัญ: ระยะของการเปลี่ยนแปลง  กระบวนการของการเปลี่ยนแปลง ทฤษฎีเปลี่ยนผ่าน การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง

Abstract
Noise induced hearing loss is a significant occupational health and environmentproblem and preventable by using hearing protective device. The purpose of thdescriptive study was to examine stages and processes of change in using hearing protectiodevice among 304 workers in a potato chip factory.  Data collection was conducted durinJuly to August 2012.  The research instrument was an interview form which was modifieversion of one developed by Raymond & Lusk (2006) and Prochaska et al. (1988).  Thtwo was confirmed content validity by panel of experts and yielded CVI equal 0.85-0.91 anacceptable reliability level (0.80-1.00).  Data analysis was performed using descriptive statisticsThe major findings showed that concerning stages of changes in use of hearinprotective  device, the highest proportion of the sample was in the maintenance stage (68.09%followed by preparation (30.92%) and action (0.99%). With regarding processes of change use of hearing protective device, it was revealed that the maintenance stage was significantdifferent from the preparation stage in both experience processes which includeconsciousness raising, dramatic relief, and self reevaluation, and behavioral processes, whiccomprises reinforcement management and self liberation.
These findings indicate that to promote continuous and consistent use of hearinprotective device, occupational and environmental health nurses should apply processeof change, in particular the behavioral processes of reinforcement management and seliberation.  This will help workers to progress to the maintenance stage of hearing protectivdevice use.
Key words: Stages of Change, Processes of Change, Transtheoretical Model, Hearing Protection Devices Use

Downloads

How to Cite

วงศ์เจริญ อ., จันทร์ประสิทธิ์ ช., & แก้วธรรมานุกูล ธ. (2014). ระยะและกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงในการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงของคนงานโรงงานผลิตมันฝรั่งทอดกรอบ. Nursing Journal CMU, 40(6), 79–89. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/19085