ความสัมพันธ์ระหว่างชั่วโมงการปฏิบัติงานเกินเวลาของพยาบาลและผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย พยาบาลและองค์กรในโรงพยาบาลทั่วไป

Authors

  • เรมวล นันท์ศุภวัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อรอนงค์ วิชัยคำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การปฏิบัติงานเกินเวลา, ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย, ผลลัพธ์ด้านพยาบาล, ผลลัพธ์ด้านองค์กร

Abstract

          จากภาวะการขาดแคลนพยาบาลส่งผลให้พยาบาลต้องรับภาระงานเกินมากขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดการผิดพลาดจากการทำงานและส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยพยาบาลและองค์การได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างชั่วโมงการปฏิบัติงานเกินเวลากับผลลัพธ์ในการปฏิบัติงานด้านผู้ป่วย พยาบาล และองค์การในโรงพยาบาลทั่วไปของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพจำนวน 506 คน ที่ปฏิบัติงานใน 24 โรงพยาบาลทั่วไปที่ปฏิบัติงานเกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามจำนวนชั่วโมงการปฏิบัติงานเกินเวลาของพยาบาลวิชาชีพ และแบบสอบถามผลลัพธ์ในการปฏิบัติงานด้านผู้ป่วย พยาบาลและองค์การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนและการวิเคราะห์ถดถอยแบบโลจิสติก

          ผลการวิจัยพบว่า  กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติงานเกินเวลาโดยเฉลี่ยจำนวน 18.74 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จำนวนชั่วโมงที่ปฏิบัติงานเกินเวลามีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยได้แก่ ความผิดพลาดของบุคลากรในการระบุตัวผู้ป่วย และการเกิดแผลกดทับขณะอยู่ในโรงพยาบาล และมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลลัพธ์ด้านพยาบาลได้แก่ ภาวะสุขภาพในช่วงปีแรกของการทำงาน ภาวะสุขภาพภายหลังการทำงานครบ 1 ปี ความพอเพียงของการพักผ่อน/นอนหลับ ความสมดุลระหว่างงานกับชีวิต และความเหนื่อยหน่ายในงาน

          ผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำผลการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูล ในการกำหนดนโยบายในการจัดอัตรากำลังที่เหมาะสมและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Published

2014-12-31

How to Cite

นันท์ศุภวัฒน์ เ., วิชัยคำ อ., & นันท์ศุภวัฒน์ อ. (2014). ความสัมพันธ์ระหว่างชั่วโมงการปฏิบัติงานเกินเวลาของพยาบาลและผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย พยาบาลและองค์กรในโรงพยาบาลทั่วไป. Nursing Journal CMU, 41(4), 58–69. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/32641