การปฏิบัติงานเกินเวลาของพยาบาลและผลลัพธ์ด้านพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน

Authors

  • ทรียาพรรณ สุภามณี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วิภาดา คุณาวิกติกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ผ่องศรี เกียรติเลิศนภา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การปฏิบัติงานเกินเวลาของพยาบาล, ผลลัพธ์ด้านพยาบาล

Abstract

          การปฏิบัติงานเกินเวลาของพยาบาลมีผลกระทบต่อพยาบาลทั้งด้านร่างกาย จิตอารมณ์ สังคม และครอบครัว ซึ่งอาจก่อให้เกิดการผิดพลาดจากการทำงานและส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของตัวพยาบาล การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ (Correlational descriptive study) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจำนวนชั่วโมงการปฏิบัติงานเกินเวลาของพยาบาล ผลลัพธ์ในการปฏิบัติงานด้านพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาล และความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานเกินเวลากับผลลัพธ์ในการปฏิบัติงานด้านพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานเกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในโรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 473 คน จาก 33 โรงพยาบาล ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ (Yamana, 1973) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือแบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเองจากการทบทวนวรรณกรรม จำนวน 3 ชุดได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการปฏิบัติงานเกินเวลาของพยาบาล แบบสอบถามผลลัพธ์ด้านพยาบาลได้แก่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวพยาบาลและความเหนื่อยหน่ายของพยาบาล ผู้วิจัยนำแบบสอบถามทั้ง 3 ชุด ไปตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ของแบบวัดความเหนื่อยหน่ายของพยาบาล เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยใช้สหสัมพันธ์ลำดับที่สเปียร์แมน (Spearman rank correlation) และสถิติการถดถอยแบบไบนารีโลจิสติก (Binary logistic regression analysis)

          ผลการวิจัย พบว่า

          1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ทำงานล่วงเวลามีลักษณะ 8 ชั่วโมงต่อเวรร้อยละ 79.95 โดยการปฏิบัติงานเกินเวลาที่เกิดขึ้นถูกจัดไว้ในตารางเวรล่วงหน้าร้อยละ 82.18 กลุ่มตัวอย่างทำงานเกินเวลาโดยเฉลี่ยในหนึ่งสัปดาห์จำนวน 19.39 ชั่วโมง

          2. ผลลัพธ์ด้านพยาบาล

          ด้านร่างกายพบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยเกิดการบาดเจ็บจากเข็มทิ่มตำร้อยละ 29.21 เคยบาดเจ็บจากของมีคมทิ่มตำร้อยละ 25 เกิดอุบัติเหตุอื่นๆ ร้อยละ 8.91 และเคยเกิดการบาดเจ็บระบบกระดูกและกล้ามเนื้อร้อยละ 100 ความเพียงพอของการพักผ่อน/นอนหลับอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 50.25 มีอาการง่วงนอนขณะขับรถน้อยครั้งร้อยละ 41.34

          ด้านจิตใจพบว่ามีความพึงพอใจในการทำงานในภาพรวมในระดับมากร้อยละ 57.92 ความเหนื่อยหน่ายของพยาบาล กลุ่มตัวอย่างมีความอ่อนล้าทางอารมณ์อยู่ในระดับสูง (x̅ =     30.11   S.D.=11.08) การลดความเป็นบุคคลในผู้อื่นอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ =9.86 S.D.=4.62) และการลดความสำเร็จส่วนบุคคลอยู่ในระดับต่ำ (x̅ = 44.96 S.D.=8.13)

          ด้านสังคมพบว่า มีความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตด้านอื่นๆ อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 47.52

          3. การปฏิบัติงานเกินเวลามีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ (r = 0.17, p = 0.01) และด้านร่างกายคือ อาการปวดเมื่อยซ้ำๆ หรือมีความผิดปกติบริเวณหลังส่วนบน บริเวณหลังส่วนล่าง และปวดร้าวจากหลังลงมาที่ขา (Sciatica) (OR = 1.02, 95% C.I. 1.00-1.03, p = 0.05; OR = 1.02, 95% C.I. 1.01-1.04, p = 0.01; OR = 1.02, 95% C.I. 1.00-1.03, p= 0.05) การปฏิบัติงานเกินเวลามีความสัมพันธ์ทางลบกับความเพียงพอของการพักผ่อน/นอนหลับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.19, p = 0.01) และความสมดุลระหว่างชีวิตกับงาน (r = - 0.16, p = 0.01)

Downloads

Published

2014-11-30

How to Cite

สุภามณี ท., คุณาวิกติกุล ว., & เกียรติเลิศนภา ผ. (2014). การปฏิบัติงานเกินเวลาของพยาบาลและผลลัพธ์ด้านพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน. Nursing Journal CMU, 41(5), 48–58. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/32695