ปัจจัยทำนายการเลิกสูบบุหรี่ในระยะสั้นในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

Authors

  • ณันฑิยา คารมย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุนิดา ปรีชาวงษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ปัจจัยทำนาย, การเลิกสูบบุหรี่ในระยะสั้น, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

Abstract

                 การช่วยเหลือให้เลิกสูบบุหรี่เป็นมาตรการสำคัญประการหนึ่งในการควบคุมยาสูบและเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หากผู้ป่วยเหล่านี้ยังคงสูบบุหรี่ต่อไปอาจทำให้อาการของโรคทรุดลงและเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายการศึกษาแบบสหสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการทำนายของจำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน  ระยะเวลาที่สูบบุหรี่มวนแรกภายหลังตื่นนอน จำนวนครั้งที่พยายามเลิกบุหรี่ การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกสูบบุหรี่  และความวิตกกังวล/ซึมเศร้าต่อการเลิกสูบบุหรี่ในระยะสั้นในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 150 คน ซึ่งรับการรักษาในแผนกผู้ป่วยในอายุรกรรมและได้รับการให้คำปรึกษาจากคลินิกอดบุหรี่ โรงพยาบาลทั่วไป 3 แห่งคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการสูบบุหรี่  แบบประเมินภาวะติดนิโคติน  แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม  แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกบุหรี่  และแบบประเมินความวิตกกังวล/ซึมเศร้า  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน  สถิติทดสอบไคสแควร์  และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก

                 ผลการวิจัย  พบว่า 

                ปัจจัยทำนายการเลิกสูบบุหรี่ในระยะสั้นในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  ได้แก่  การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกสูบบุหรี่    (OR = 1.03; 95%CI = 1.01-1.05, p<0.003) ความวิตกกังวล (OR = 0.86; 95%CI = 0.74-.99, p<0.033) ระยะเวลาที่สูบบุหรี่มวนแรกภายหลังตื่นนอน (6–30นาที) (OR = 4.38; 95%CI = 1.57-12.23, p<0.005) จำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน (OR = 0.11;  95%CI  = 0.02-0.55,  p<0.007) และการสนับสนุนทางสังคม (OR = 1.10, 95% CI = 1.01-1.20, p<0.029) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

                ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สูบบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้ เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน การกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาล และส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Downloads

Published

2015-03-31

How to Cite

คารมย์ ณ., & ปรีชาวงษ์ ส. (2015). ปัจจัยทำนายการเลิกสูบบุหรี่ในระยะสั้นในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. Nursing Journal CMU, 42(1), 1–11. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/34841