ผลของการฝึกสมาธิร่วมกับการฝึกโปรแกรมไบโอฟีดแบคต่อระดับความเครียดของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

Authors

  • กนกภรณ์ ทองคุ้ม โรงพยาบาลค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
  • มรรยาท รุจิวิชญญ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ชมชื่น สมประเสริฐ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

การฝึกสมาธิ, การฝึกโปรแกรมไบโอฟีดแบค, ระดับความเครียด, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

Abstract

                 การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกสมาธิร่วมกับการฝึกโปรแกรมไบโอฟีดแบคต่อระดับความเครียดของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  ที่รับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริสุขภาพตำบล 30 แห่ง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 102  คน แบ่งเป็น 3 กลุ่มๆละ 34 คน โดยการจับคู่กลุ่มตัวอย่าง หลังจากนั้นสุ่มแบบง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับการฝึกสมาธิ กลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับการฝึกสมาธิร่วมกับการฝึกโปรแกรม  ไบโอฟีดแบค และกลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรมการฝึก ระยะเวลาการทดลอง 6สัปดาห์ ประเมินระดับความเครียดโดยใช้แบบประเมินความเครียด Symptoms of  Stress  Inventory (SOSI) เครื่องมือไบโอฟีดแบค  ควบคุมการทำงานของต่อมเหงื่อ Skin-conductance (SC) biofeedback instrument และเครื่องมือไบโอฟีดแบค  ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายที่ผิวหนัง Skin-temperature  (ST) biofeedback instrument วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  สถิติไคสแควร์ สถิติทดสอบค่าทีสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมหลายตัวแปรตาม  (MANCOVA)   และการทดสอบรายคู่ด้วยวิธี Bonferroni

                ผลการวิจัย พบว่า

             (1) ผู้ป่วยโรคเรื้อรังกลุ่มที่ได้รับการฝึกสมาธิมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียด (SOSI, SC, ST) ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.0005  (2) ผู้ป่วยโรคเรื้อรังกลุ่มที่ได้รับการฝึกสมาธิร่วมกับการฝึกโปรแกรมไบโอฟีดแบคมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดก่อนและหลังการ ทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.0005  (3) ผู้ป่วยโรคเรื้อรังกลุ่มที่ได้รับการฝึกสมาธิกลุ่มที่ได้รับการฝึกสมาธิร่วมกับการฝึกโปรแกรมไบโอฟีดแบค  และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.0005 (F(6,188) = 14.24, p = .000, Wilks’  Λ = 0.47, partial η2  = .31)

             จากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า  การฝึกสมาธิและการฝึกสมาธิร่วมกับโปรแกรมไบโอฟีดแบคสามารถลดระดับความเครียดของผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้ จึงอาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการออกแบบโปรแกรมสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

 

Downloads

Published

2015-03-31

How to Cite

ทองคุ้ม ก., รุจิวิชญญ์ ม., & สมประเสริฐ ช. (2015). ผลของการฝึกสมาธิร่วมกับการฝึกโปรแกรมไบโอฟีดแบคต่อระดับความเครียดของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. Nursing Journal CMU, 42(1), 24–37. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/34844