ความเครียด การสนับสนุนทางสังคม และการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอด

Authors

  • ศุภกร ไชยนา คระพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงราย
  • นันทพร แสนศิริพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กรรณิการ์ กันธะรักษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ความเครียด, การสนับสนุนทางสังคม, บิดา, การเข้ามามีส่วนร่วม, ระยะหลังคลอด

Abstract

                 การเข้ามามีส่วนร่วมของบิดามีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อภาวะสุขภาพร่างกาย และจิตใจของบิดา มารดา และบุตรหลังคลอด การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความเครียด การสนับสนุนทางสังคม และการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอด  กลุ่มตัวอย่างคือ  ผู้เป็นบิดาครั้งแรก ที่ภรรยาคลอดบุตรและอยู่ในระยะ 6 - 8 สัปดาห์หลังคลอด มารับบริการคลินิกวางแผนครอบครัวและคลินิกสุขภาพเด็กดี ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลนครพิงค์ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2556 ถึง เดือนกรกฎาคม  2556 จำนวน 102 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอด แบบสอบถามความเครียดสวนปรุง และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา โดยใช้สถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

                 ผลการวิจัยพบว่า           

                1. บิดาส่วนใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมในระยะหลังคลอดอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 89.22 มีคะแนนการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอดเฉลี่ย 109.87 คะแนน (S.D. =  11.29)  

                2. บิดามีความเครียดอยู่ในระดับปานกลางและมีความเครียดระดับน้อย ร้อยละ 43.14 และร้อยละ 41.18 ตามลำดับ มีคะแนนความเครียดเฉลี่ย 27.98 คะแนน (S.D. = 14.99)

                3. บิดาส่วนมากได้รับการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 74.51มีคะแนนการสนับสนุนทางสังคมโดยรวมเฉลี่ย 4.11 (S.D. = 0.56)

                4. ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางลบระดับต่ำ กับการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r= -0.245, p< 0.05) และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง กับการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r= 0.375, p<0.01)

               จากผลงานวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า  ควรประเมินความเครียดในระยะหลังคลอดของผู้เป็นบิดา และควรสนับสนุนให้บิดาได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากภรรยา บุคคลรอบข้าง และพยาบาลผดุงครรภ์ เพื่อส่งเสริมให้บิดาเข้ามามีส่วนร่วมในระยะหลังคลอด

 

Downloads

How to Cite

ไชยนา ศ., แสนศิริพันธ์ น., & กันธะรักษา ก. (2015). ความเครียด การสนับสนุนทางสังคม และการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอด. Nursing Journal CMU, 42(1), 85–96. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/34849