ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยการบูรณาการเชิงเนื้อหาผ่านสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่

Authors

  • อารีย์ ธรรมโคร่ง ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Keywords:

การเรียนรู้เชิงรุก, การบูรณาการเชิงเนื้อหา, สื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่, active learning, content integration, new technological instruction media

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษารูปแบบการจัดการ เรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนโดยสำรวจความคิดเห็นและ พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนรายวิชา 438-101 ศาสนวิถี ต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยการบูรณาการเชิงเนื้อหาผ่านสื่อ การเรียนการสอนสมัยใหม่ ในภาคการศึกษาที่ 2/2557 จำนวน 188 คน ใช้แบบสอบถามวัดเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน และแบบสังเกตวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพฤติกรรม โดยนำเสนอ เป็นความเรียง

การจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยการบูรณาการเชิงเนื้อหาผ่านสื่อ การเรียนการสอนสมัยใหม่ เกิดจากการผสมผสานแนวการสอน 2 รูปแบบ คือ การบูรณาการเชิงเนื้อหาและการใช้สื่อการเรียน การสอนสมัยใหม่ เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการจัดการ เรียนรู้ในรูปแบบที่ยังคงเนื้อหาทฤษฎี (แบบเน้นมโนทัศน์) แต่เติมเต็มวิธีการสอนด้วยการใช้สื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่ มาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อให้เกิดมิติ การเรียนรู้ที่มีสีสัน ช่วยเสริมการสอนให้มีความเป็นรูปธรรม และน่าสนใจ ทำให้ผู้เรียนสามารถมองเห็นประเด็นและเข้าใจ ความหมายตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนกำหนดไว้ นำไปสู่การ ประยุกต์ใช้ความเข้าใจกับสถานการณ์หรือชีวิตประจำวัน จากผลการวิจัย พบว่าผู้เรียนมีความคิดเห็นในเชิงบวกและ จากการสังเกต ผู้เรียนมีการตอบรับการจัดการเรียนรู้นี้เป็น อย่างดี นอกจากนั้น ผลการวิจัยยังสะท้อนให้เห็นว่าผู้เรียนได้ใช้ ทักษะในการคิดและกระบวนการคิดเป็นเครื่องมือในการสร้างองค์ความรู้ โดยมีผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก ทำหน้าที่ กระตุ้นเร้าให้เกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ ทั้งหมดให้แก่ผู้เรียน การจัดการเรียนรู้นี้จึงถือได้ว่าเป็นตัวช่วย พัฒนาทักษะการสอนให้แก่ผู้สอนและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ให้แก่ผู้เรียน รวมทั้งเหมาะสมกับการนำไปจัดการเรียนรู้ ในรายวิชานี้ได้เป็นอย่างดี

 

Learner’s Attitude and learning Behaviors toward Active Learning Management Using Content Integration and New Technological Instructional Media

This research was aimed at studying an instructing model: active learning on its appropriateness for learners. The sample included 188 learners in 438-101 Religious Paths enrolled in Semester 2, Academic Year 2015. The instruments were a questionnaire to explore their opinions, and learners’ expositions used for behavioral analysis. The obtained data were statistically analyzed to discover percentages, means, and standard deviations.

Active learning management was a blended model of content integration and technological instruction multi-media. That is, the learning activity paradigm focusing on content-based learning was added with the use of technological instruction multi-media as a learning tool in order to promote a colorful dimension of learning and teaching. As a result, students would be able to comprehend the lessons as specified in the objective and to apply them in their daily life. The statistical analysis showed that the participants highly agreed with the teaching model in all aspects. The observation from the expositions indicated that, the participants were positively responsive to the learning activity. Furthermore, it was revealed that the participants used thinking skill and thinking process in building learning organization. In conclusion, this active learning management model was suitable for the course and, importantly, contributed to instructional and learning improvements.

Downloads

How to Cite

ธรรมโคร่ง อ. (2016). ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยการบูรณาการเชิงเนื้อหาผ่านสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 12(1), 123–146. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/82220