กลวิธีทางภาษาของบทผญาในชุมชนโคกนาดี Language Strategies of Phaya-Isan in KokeNadee Community.

Authors

  • ศิริลักษณ์ หาชื่น
  • สุภณ สมจิตศรีปัญญา
  • บุญยงค์ เกศเทศ

Abstract

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่องกลวิธีทางภาษาของบทผญาในชุมชนโคกนาดี มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาของบทผญาและเพื่อศึกษาหน้าที่และความหมายของคำขยายของบทผญาในชุมชนโคกนาดี ตำบลโนนนาจาน อำเภอนาคูจังหวัดกาฬสินธุ์จำนวน 449 บท โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการวิจัยภาคสนาม โดยสัมภาษณ์ปราชญ์ท้องถิ่น จำนวน 30 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปในสามหมู่บ้าน ใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างเครื่องบันทึกเสียง ได้เก็บข้อมูลมาศึกษาวิจัยระหว่างเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือน ธันวาคมพ.ศ. 2557 นำเสนอข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่าบทผญาในชุมชนโคกนาดีมี 4 ประเภท คือ ผญาเกี้ยว ผญาภาษิต ผญาอวยพร และผญาคำสอนมีกลวิธีทางภาษาโดยใช้รูปแบบคำประพันธ์ชนิดร่ายโบราณหรือร่ายยาว วรรคหนึ่งมี 5-14 คำท้ายวรรคหน้าจะส่งสัมผัสไปยังคำที่ 1, 2, หรือ3 ของวรรคต่อไป บางบทไม่มีสัมผัส ไม่กำหนดจำนวนวรรค ย่อหน้า ผญาเกี้ยวเป็นการใช้คำพูดที่เป็นขั้นตอนคือปลุกให้ตื่น พูดถามข่าวคราว พูดถ่อมตัวและยกยออีกฝ่าย พูดเป็นเชิงหยอกล้อตลกฮา พูดบรรยายความในใจหรือภาษารักพูดเชิงสงสัย พูดในลักษณะกระแนะกระแหน พูดเป็นเชิงน้อยอกน้อยใจ พูดยืนยันหรือให้คำมั่นสัญญา พูดลาและอาลัย ผญาภาษิตเป็นถ้อยคำที่แฝงคติมีความหมายเชิงเปรียบเทียบ ผญาอวยพรเป็นคำพูดที่เป็นสิริมงคลแก่ผู้ฟังหรือผู้รับพร และผญาคำสอนเป็นคำพูดสอนใจแฝงคติธรรม พบผญาคำสอนทั่วไป คำสอนหญิง คำสอนชาย คำสอนลูกการใช้คำพบการเรียบเรียงถ้อยคำแบบใช้คำพูดตรงไปตรงมา คำพูดที่กล่าวโดยนัย การเรียบเรียงถ้อยคำแบบร่าย การ
กระทู้คำ การเล่นคำโดยการปฏิเสธ การเล่นคำโดยการบอกกล่าวประเล้าประโลม การใช้โวหารพบเทศนาโวหารพรรณนาโวหาร อุปมาโวหาร สาธกโวหาร โวหารภาพพจน์การศึกษาหน้าที่และความหมายของคำขยาย พบว่ามีคำขยายที่ปรากฏในบทผญาของชุมชนชุมชนโคกนาดี 6 ประเภทคือ คำขยายบอกลักษณะ คำขยายบอกเวลา คำขยายบอกสถานที่แสดงที่ตั้งอยู่ คำขยายบอกจำนวน คำขยายแสดงความสงสัยหรือใช้คำถาม และคำขยายที่บอกความปฏิเสธ

 

ABSTRACT
This research aimed to study language strategies of 449 Phaya expressions used in KokeNadee Community, Tambon None Najarn, Nakoo District, Kalasin Province. This study was a qualitative research of related documents, including study of aesthetic theories and the researcher's views of Phaya; Data were collected using fieldwork studies of in-depth interviews of 30 local experts selected through purposive sampling. The instruments used in collecting data for this research were a structured- interview form and a
tape recorder. The study was conducted during July 2013 - December 2014, and the collected data were analyzed using descriptive analysis.Findings of the research revealed 4 types of Phaya: PhayaKiaw (Courting), PhayaParsit (Proverb), PhayaUaypon (Blessing) and PhayaKamson (Teaching). The language strategies used in these Phaya expressions were of epic poetry or lengthy ancient verses, with each pauseor stop (caesura) consisting of 5-14 words with the ending of the first pause rhyming withthe first, second or third word of the next pause. Some verses did not have rhyming patterns, and even a specific number of pauses. As for PhayaKiaw (Courting), this type of Phaya had a procedural pattern:

Downloads

Published

2016-12-01

How to Cite

หาชื่น ศ., สมจิตศรีปัญญา ส., & เกศเทศ บ. (2016). กลวิธีทางภาษาของบทผญาในชุมชนโคกนาดี Language Strategies of Phaya-Isan in KokeNadee Community. Chophayom Journal, 27(2), 35–45. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/73490

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์