ความเป็นอิสระของท้องถิ่น ภาวะผู้นำท้องถิ่น และการจัดการปกครองท้องถิ่นที่เน้นประชาชน : กรณีศึกษาการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม Local Autonomy, Leadership of Local Leaders, and Citizen-Centered Local Governance : A Case Study of Local Administration in

Authors

  • ชนาวีร์ เจริญศิริ
  • รืองวิทย์ เกษสุวรรณ
  • นัยนา เกิดวิชัย

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ทั้งหมด 4 ข้อ ได้แก่ (1) ศึกษาระดับความเป็นอิสระของการปกครองท้องถิ่น (2)
ศึกษาภาวะผู้นำท้องถิ่น (3) ศึกษาระดับการจัดการปกครองท้องถิ่นที่เน้นประชาชน และ (4) หาแนวทางปรับปรุงความเป็นอิสระ ภาวะผู้นำ และการจัดการปกครองที่เน้นตนเองของท้องถิ่น วิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative method)โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบหยั่งลึก (in-depth interview) และการสนทนากลุ่ม (focus group) ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการปกครองท้องถิ่นจำนวน 10 คน และผู้ร่วมการสนทนากลุ่ม 20 คน รวมเป็น 30 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์รูปแบบกึ่งมีโครงสร้าง (semi-structured interview) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า (1) ท้องถิ่นไทยมีความเป็นอิสระในระดับหนึ่ง ในแง่การคิดนโยบาย การจัดเก็บรายได้บางประเภท หรือสิทธิหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ท้องถิ่นไทยเกือบทั้งหมดมีข้อจำกัดจากรายได้ ซึ่งต้องพึ่งรัฐบาลร้อยละ 70-80 ของรายรับทั้งหมด ส่วนที่เป็นปัญหาจึง ได้แก่ ปัญหางบประมาณของท้องถิ่น ประสิทธิภาพการบริหารของท้องถิ่นความสามารถในการระดมทรัพยากร คุณภาพของประชาชนในท้องถิ่น และการควบคุมจากส่วนกลางที่มีมากเกินไป (2) ผู้นำท้องถิ่นในปัจจุบันมีวิสัยทัศน์ เนื่องจากมีการศึกษา ประสบการณ์ การเรียนรู้และความสามารถในการปรับตัวได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม วิสัยทัศน์ของท้องถิ่นสัมพันธ์กับทรัพยากรและภูมิสังคมของแต่ละแห่ง (3) การจัดการปกครองท้องถิ่นต้องเน้นประชาชนเพราะผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม การเน้นประชาชนยังมีคุณภาพไม่มากโดยเฉพาะตัวชี้วัดที่ว่าท้องถิ่นต้องจัดการงบประมาณอย่างรอบคอบ มีประสิทธิภาพ และมีบริการที่เป็นเลิศ (4) ผู้ให้ข้อมูลเสนอแนะแนวทางให้ปรับปรุงโครงสร้าง พัฒนาผู้นำ ระบบธรรมาภิบาล และการเพิ่มรายได้ให้กับท้องถิ่น

ABSTRACT
The purposes of this research were to (1) investigate autonomy level of local administration, (2)examine leadership of local leaders, (3) study level of citizen-centered local governance, and (4) provide resolutions to improve local autonomy, leadership, and citizen-centered governance. Several qualitative methods were applied in this paper to collect data from 30 samples as follows. In-depth interview was conducted with 10 experts in the local administration while focus group was used to gather the data from 20 samples. semi-structured interviews were a key tool of collecting data in the research and data was
analyzed using content analysis.The results showed that: (1) Thelocal autonomy could be found in a certain level; for instance,policy formulation, some types of revenue collection, or rights and duties as defined in the constitution. Nevertheless, most of local administrative organizations faced limitation in raising the revenue and needed to rely on the government for about 70-80%. Therefore, there were some problems with local budget, efficiency of local administration, ability to mobilize resources, quality of local people, and too much control of central government. (2) The local leader had broader visions due to better education,

Downloads

How to Cite

เจริญศิริ ช., เกษสุวรรณ ร., & เกิดวิชัย น. (2016). ความเป็นอิสระของท้องถิ่น ภาวะผู้นำท้องถิ่น และการจัดการปกครองท้องถิ่นที่เน้นประชาชน : กรณีศึกษาการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม Local Autonomy, Leadership of Local Leaders, and Citizen-Centered Local Governance : A Case Study of Local Administration in. Chophayom Journal, 27(2), 73–81. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/73493

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์