Focus and Scope

วารสารวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวารสารทางวิชาการของคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำหนดเผยแพร่ปีละ 2 ครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. เป็นเวทีในการนำเสนอบทความทางวิชาการ งานวิจัยด้านศิลปะ และ วัฒนธรรมของคณาจารย์นักวิชาการตลอดทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งภายในและนอกคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. เป็นเวทีในการเผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้ และข้อคิดทางวิชาการ ระหว่างนักวิชาการของคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้สนใจงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม

3. เป็นการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม

วารสารวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานสร้างสรรค์ บทความวิชาการ ที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง  สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี) รวมถึงบทความวิจารณ์หนังสือหรือบทความปริทัศน์

วารสารเปิดรับบทความวิจัย บทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการของทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ครู อาจารย์ นิสิตนักศึกษา ตลอดจนผู้ที่มีประสบการณ์หรือมุมมองทางด้านศิลปกรรมอย่างกว้างขวาง โดยบทความดังกล่าวต้องนำเสนอองค์ความรู้หรือแนวคิดใหม่ที่ได้มาจากการศึกษาค้นคว้า วิจัย ไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นทัศนะและข้อคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่รับผิดชอบบทความนั้น วารสารวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินการโดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานตามเกณฑ์การรับรองของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)

*วารสารวิจิตรศิลป์ไม่มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ (page charge)

Peer Review Process

การพิจารณา การประเมิน และการเผยแพร่บทความ

1. การตอบรับหรือปฏิเสธบทความ

กองบรรณาธิการฝ่ายวิชาการพิจารณากลั่นกรองบทความขั้นต้น และแจ้งผลการพิจารณาตอบรับหรือปฏิเสธบทความให้ผู้ส่งบทความทราบภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับบทความ หากบทความมีรูปแบบหรือองค์ประกอบไม่ตรงตามหลักเกณฑ์การจัดทำต้นฉบับบทความที่วารสารกำหนด ฝ่ายประสานงานของวารสารจะส่งต้นฉบับบทความให้ปรับปรุงแก้ไขใหม่ (revised) ภายใน 15 วันโดยฝ่ายประสานงานจะทำหน้าที่ประสานงานกับผู้ส่งบทความในทุกขั้นตอน

ต้นฉบับบทความอาจได้รับการปฏิเสธหากไม่ได้คุณภาพ ไม่ตรงกับประเภทของบทความที่จะตีพิมพ์ หรือผู้เขียนบทความปฏิเสธไม่แก้ไขให้ตรงกับหลักเกณฑ์ที่วารสารกำหนดและส่งกลับคืนมาภายในเวลาที่กำหนดข้างต้น

2 .การประเมินบทความ

ฝ่ายประสานงานนำต้นฉบับบทความที่ผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการฝ่ายวิชาการแล้ว เสนอให้ผู้ประเมินพิจารณาบทความ (peer-reviewer) จำนวน 3 ท่าน ซึ่งกองบรรณาธิการฝ่ายวิชาการเป็นผู้เลือกจากผู้เชี่ยวชาญหรือเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่สอดคล้องกับเนื้อหาบทความ เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบการเผยแพร่บทความภายใต้เกณฑ์ประเมินบทความที่วารสารกำหนด โดยเก็บข้อมูลทั้งหมดเป็นความลับและไม่เปิดเผย ชื่อ-นามสกุล รวมถึงหน่วยงานที่สังกัดทั้งของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความ (double-blinded) จนกว่าต้นฉบับบทความจะได้รับการเผยแพร่ ใช้เวลาพิจารณาแต่ละบทความประมาณ 1 เดือน    

 3. ผลการประเมินบทความ

บทความที่ “ผ่านการประเมิน” คือ บทความที่ได้รับผลการประเมินให้ตอบรับตีพิมพ์ จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 ใน 3 ท่าน

ทั้งนี้ ผลการพิจารณาของผู้ประเมินบทความถือเป็นสิ้นสุด โดยไม่มีการทบทวนบทความที่ไม่ผ่านการประเมิน หรือทบทวนระดับผลการประเมินอีกครั้ง หรือเปลี่ยนแปลงผู้ประเมินบทความใหม่ในทุกกรณี

4. การแจ้งผลการประเมินบทความ

ฝ่ายประสานงานของวารสารจะส่งผลการประเมินของผู้ประเมินทุกท่าน ให้ผู้ส่งบทความทราบภายใน 7 วัน นับตั้งแต่ได้รับผลการประเมินจากผู้ประเมินท่านสุดท้าย หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อแก้ไขปรับปรุงจากผู้ประเมิน ให้ผู้ส่งบทความแก้ไขปรับปรุงแล้วนำส่งต้นฉบับบทความให้ฝ่ายประสานงานของวารสารภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ฝ่ายประสานงานแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบ หากผู้ส่งบทความไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะหรือข้อแก้ไขปรับปรุงของผู้ประเมิน ให้ทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรชี้แจงรายละเอียดให้กองบรรณาธิการฝ่ายวิชาการพิจารณา

5. การตอบรับการเผยแพร่บทความ

บทความที่ผ่านการแก้ไขปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ประเมิน จะได้รับการพิจารณาอีกครั้งจากกองบรรณาธิการฝ่ายวิชาการ แต่เป็นการพิจารณาเฉพาะรูปแบบของบทความ การใช้ภาษา และการพิสูจน์อักษร โดยคำนึงถึงความง่ายต่อการอ่านบทความ (readability) จากนั้นฝ่ายประสานงานจะแจ้งข้อเสนอของกองบรรณาธิการให้ผู้ส่งบทความแก้ไขปรับปรุง เมื่อการแก้ไขปรับปรุงเสร็จสมบูรณ์แล้ว ให้ถือวันที่บรรณาธิการให้ความเห็นชอบแก้ไขบทความครั้งสุดท้ายเป็นวันแก้ไขบทความ (revised) และให้ถือวันที่บรรณาธิการมีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งการเผยแพร่บทความ เป็นวันตอบรับการตีพิมพ์บทความ (accepted)     

6. การเผยแพร่บทความ

บทความที่ได้รับหนังสือตอบรับการเผยแพร่จากบรรณาธิการวารสารแล้ว จะได้รับการเผยแพร่ผ่านระบบวารสารวิจิตรศิลป์ออนไลน์ (ThaiJO) ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ภายใน 30 วันนับแต่วันออกหนังสือตอบรับการเผยแพร่ การเผยแพร่ให้เรียงลำดับก่อนหลังตามวันที่บรรณาธิการวารสารมีหนังสือแจ้งการตีพิมพ์ให้ผู้ส่งบทความทราบตามข้อ 5.5 ทั้งนี้ ลำดับการเผยแพร่ให้เป็นไปอย่างเคร่งครัด โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือทบทวนไม่ว่ากรณีใด

 

Publication Frequency

Fine Arts Journal is launched twice a year. The first issue of the year will be for January-June, and the second issue of the year will be for July-December.

Open Access Policy

This journal provides immediate open access to its content on the principle that making research freely available to the public supports a greater global exchange of knowledge.

Principal contact

[email protected]

นางสาววรัทยา เอนันรัตน์

0-5394-4829 (ในวันและเวลาราชการ)

Journal History

วารสารวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน  ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม เริ่มดำเนินการและเผยแพร่ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2550 โดยมีรายนามบรรณาธิการวารสารดังต่อไปนี้

                พ.ศ. 2550 – 2551                               ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมปอง  เพ็งจันทร์

                พ.ศ. 2553 – 2554                               ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล

                พ.ศ. 2555 – 2559                               ศาสตราจารย์เกียรติคุณ หม่อมหลวงสุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์

                พ.ศ. 2560 – 2561                               รองศาสตราจารย์ ดร.ฉลองเดช คูภานุมาต

                พ.ศ. 2561 - มิถุนายน 2562                  รองศาสตราจารย์พิชญา สุ่มจินดา

                กรกฎาคม 2562 - กันยายน 2563          ศาสตราจารย์เกียรติคุณ หม่อมหลวงสุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์

                ตุลาคม 2563 - ตุลาคม 2564                รองศาสตราจารย์ ดร. รงคกร อนันตศานต์ (รักษาการแทนบรรณาธิการวารสาร)

                พฤศจิกายน 2564 – ปัจจุบัน                  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณิเทพ ปิตุภูมินาค

วารสารวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)   สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (TCI)  ในปี พ.ศ.2556  และได้รับการจัดให้เป็นวารสารในกลุ่มที่ 1  เมื่อปี พ.ศ. 2558