การมีส่วนร่วมของชุมชนเมืองในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม : กรณีศึกษาชุมชนลาดพร้าว PARTICIPATION OF URBAN COMMUNITY IN DEVELOPING ARTS AND CULTURE LEARNING CENTER : CASE STUDY, LAD PRAO COMMUNITY

ผู้แต่ง

  • จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนลาดพร้าวในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมชุมชนลาดพร้าว เพื่อศึกษากิจกรรมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมชุมชนลาดพร้าว และเพื่อศึกษาผลของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมชุมชนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ส่งผลกระทบต่อกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนอย่างไร ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ การจัดประชุมกลุ่มย่อย และการสังเกตจากสมาชิกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมชุมชน เด็ก เยาวชน และชาวชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของชุมชนลาดพร้าว เป็นกระบวนการดำเนินการตามแนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมซึ่งมี 4 ขั้นตอนคือ ขั้นวางแผน ขั้นดำเนินการตามแผน ขั้นสังเกตการณ์ และขั้นสะท้อนผล โดยมีสมาชิกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันพัฒนาตามแผนปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง 3 วงรอบกิจกรรมที่ใช้ในการพัฒนามีทั้งกิจกรรมศิลปศึกษาและกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่มีลักษณะเป็นกิจกรรมบูรณาการระหว่างการเรียนการสอนทัศนศิลป์ นาฏศิลป์ และกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่บูรณาการกับบริบททางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมของชุมชน เพื่อตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของชุมชน ผลของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ปรากฏว่าการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ โดยข้อบ่งชี้ของการบรรลุผลเชิงปริมาณคือ การได้แผนปฏิบัติการพัฒนาและเกิดกิจกรรมทั้งกิจกรรมศิลปศึกษาและกิจกรรมทางวัฒนธรรม จากการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างต่อเนื่อง ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ได้แก่ พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางบวกของชุมชน คือ การเกิดการมีส่วนร่วมในการทำแผนปฏิบัติการ ความเป็นระบบในการทำงานพัฒนาร่วมกัน และศักยภาพในการทำงานร่วมกันของคนในชุมชนพัฒนาให้มีเครือข่ายความร่วมมือมากขึ้น นอกจากนี้การพัฒนาตามแผนปฏิบัติการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของชุมชนลาดพร้าว ยังส่งผลกระทบต่อกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ทั้งด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ ของสมาชิกผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เด็ก เยาวชน และผู้เข้าร่วมโครงการ คือ ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เกิดทักษะและ เจตคติ จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีขึ้นทำให้ระบบความสัมพันธ์ในชุมชนพัฒนาไปในทางบวกและทำให้เกิดจิตสำนึกสาธารณะในการทำงานให้ชุมชนโดยองค์รวมมากขึ้น

คำสำคัญ : การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมชุมชน กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน แหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมชุมชน

Abstract

This research is workshop research that participates with community. Terminus for 3 reasons; to study participations with Lad Prao’s community to develop learning culture in their community, to study how arts and cultural activities that can develop learning culture in Lad Prao’s community and to study what are results of that participations with Lad Prao’s community to develop learning culture and how is it influence with learning in their community. Researcher gathers information by interview, held session and observe people that stakeholders with this evolution; children, juvenile and other involve people in community. The results showed that participations with Lad Prao’s community to develop learning culture in their community is a process in participatory action research that have 4 steps; planning, implementation of the plan, observation and reflection result. Participate with Stakeholder, work along development plan successively in 3 confines. There are many activities for development such as art and cultural activities that integration with context of economic, social, cultural and environment of the community for response problems and requirements of people in community. Results of this operation showed that this development plan was successful. Indications of achieving quantitative result are operation successively and make activities about arts and cultural. From this participation, qualitative indicator is community’s behavior changed in a positive way; 1. Have an action plan 2. People’s potential 3.System working 4.Readily network cooperation between people in community, all of this made more network cooperation. In addition, this development plan affected with learning community; knowledge, skills and attitudes of stakeholders, children, juvenile and participants, there are resulting knowledge, understanding, skills and attitudes from exchange of good learning. This made community’s relations change in a good way and made more public consciousness

Keywords : The development of a learning arts and culture community, learning community, learning arts and culture community

Downloads