การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรอื่งเมทริกซ์ระหว่างการเรียนการสอนโดยชุดการสอนคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการคิดคู่ร่วม และวิธีการสอนแบบปกติ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

พิสมัย ไกรสุข
เผ่าไทย วงศ์เหล่า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน ระหว่างกลุ่มทดลองที่สอนโดยใช้ชุดการสอนคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการคิดคู่ร่วม เรื่องเมทริกซ์ และกลุ่มควบคุมที่ สอนโดยใช้วิธีการสอนแบบปกติ และ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์ระหว่างกลุ่ม ทดลองที่สอนโดยใช้ชุดการสอนคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการคิดคู่ร่วมเรื่องเมทริกซ์ และกลุ่มควบคุมที่สอนโดยใช้วิธีการสอนแบบปกติกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/11 และ 4/12  โรงเรียนกันทรารมณ์สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จํานวน 80 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดการสอนคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการคิดคู่ร่วม 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จํานวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.76 และค่าอํานาจจําแนก ตั้งแต่ 0.26  ถึง 0.79 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.57 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ซึ่งมีค่าความอํานาจจําแนก ตั้งแต่ 0.52 ถึง 0.78 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และการทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มอิสระจากกันผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอน คณิตศาสตร์ด้วยวิธีการคิดคู่ร่วม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีการสอน แบบปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนคณิตศาสตร์ด้วย วิธีการคิดคู่ร่วม มีความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

Article Details

How to Cite
[1]
ไกรสุข พ. และ วงศ์เหล่า เ., “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรอื่งเมทริกซ์ระหว่างการเรียนการสอนโดยชุดการสอนคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการคิดคู่ร่วม และวิธีการสอนแบบปกติ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 6, ฉบับที่ 2, น. 78–87, ม.ค. 2017.
บท
บทความวิจัย
Author Biography

พิสมัย ไกรสุข

คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี