การพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู Improvement Health Service for Elderly Patients with Diabetes Mellitus Through Community Participatio

ผู้แต่ง

  • ทิชากร แก้วอัคฮาด
  • ชลการ ทรงศรี

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน รูปแบบบริการสุขภาพ การมีส่วนร่วม Elderly Patients with Diabetes Mellitus, Improvement Health Service, Community Participation

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานในผู้สูงอายุพบมีจำนวนเพิ่มขึ้น  การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้เพื่อพัฒนาบริการที่สอดคล้องกับความต้องการผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน ผู้ร่วมวิจัยคือ ผู้ให้บริการสุขภาพ 4 คน ผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2  จำนวน 10 คน ผู้ดูแลหลัก 10 คน ผู้นำชุมชนและ อสม. 10 คน ทำการวิจัยช่วงเดือน  มกราคม – กันยายน  2557 ศึกษาสภาพการณ์การจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน จากการสัมภาษณ์ผู้ให้บริการสุขภาพ สนทนากลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน ผู้ดูแลหลัก  ผู้นำชุมชนและ อสม. วิเคราะห์สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการบริการสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน วางแผนเพื่อพัฒนาบริการสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานจากการระดมสมองตัวแทนผู้ให้บริการสุขภาพ ตัวแทนผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน ตัวแทนผู้ดูแลหลัก  ตัวแทนผู้นำชุมชนและ อสม. นำแผนการพัฒนาบริการสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน และการติดตามประเมินผล  

ผลการวิจัยพบว่าภาวะสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานป่วยเป็นเบาหวานเฉลี่ย  7.3  ปี    ระดับ  HBA1C  มีค่าระหว่าง  6.01 – 7.50  ผู้ป่วยร้อยละ  40  ที่มีภาวะแทรกซ้อน การจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกเบาหวานอัตรากำลังให้บริการไม่เพียงพอ มีผู้ป่วยจำนวนมาก และมีหลายขั้นตอน ทำให้การให้บริการล่าช้า การจัดเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนและไม่ครอบคลุม  การให้ความรู้รายบุคคลมีเฉพาะผู้ป่วยรายใหม่ ระบบนัดหมายและแนวทางการส่งต่อยังไม่ชัดเจน การจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานในชุมชนพบว่าการติดตามเยี่ยมบ้านไม่ครอบคลุม ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลน้อย จึงมีการพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพในคลินิกเบาหวานคือ เพิ่มวันให้บริการเดือนละ 2 ครั้งเพื่อลดความแออัด  จัดอัตรากำลังผู้ให้บริการสุขภาพครั้งละ 2 คน  อสม. จิตอาสามาช่วยให้บริการ การให้ความรู้เป็นรายบุคคลในผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่การให้ความรู้เป็นรายกลุ่มในผู้ป่วยเบาหวานรายเก่าที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และจัดแนวทางการส่งต่อไปยังเครือข่ายในชุมชน ผู้ให้บริการสุขภาพร่วมกันจัดทำแนวทางการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน อบรม อสม. เยี่ยมบ้านในรายที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ในรายที่ภาวะแทรกซ้อนติดตามเยี่ยมโดยผู้ให้บริการสุขภาพตามแนวทางการเยี่ยมบ้านที่จัดทำขึ้น ผลการพัฒนาทำให้ผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็วและมีความพึงพอใจในการรับบริการ การติดตามเยี่ยมบ้านได้ครอบคลุม ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานโดยมีกิจกรรมกลุ่มร่วมกันเช่น กลุ่มรำวงคองก้าของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานโดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว ผู้ให้บริการสุขภาพก็มีแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนขึ้น  

Diabetes in the elderly has increased . This qualitative research  aims to develop  elderly  patient with diabetes mellitus service suitable for the needs of elderly patients with diabetes mellitus (DM) and the community. The study was carried out during January to September 2013. The research participants  were 4 health personnel, 10 type II diabetes mellitus patients, 10 caregivers and 10 community leaders and health volunteers. A situational analysis was conducted to explore existing diabetes mellitus health services. Undertaken to plan by brainstorming among the health personnel and representatives of the diabetes mellitus patients, the caregivers, the community leaders and the health volunteers. Develop the diabetes mellitus health service.  Finally, a project evaluation conducted.

                Results was found elderly patients with DM who had been diagnosed with DM for 7.3 years. HbA 1C between 6.01 – 7.50. More than 40 % of them had complication. The situational analysis revealed that there were too many patients coupled with limited clinic space, resulted in delayed services and too many steps. The data incomprehensive.  Individual health education to only new cases.  The follow-up and referral system were indistinct. Home visits were not delivered to all DM patients in the community. Community participated,care less. Developed as followed. Increased the DM  health service to 2 days clinic a month. Two health personnel were designated for clinic with the health volunteers.  New cases individual health education and old cases with to participate group health education.  A patient referral guideline to coordinate network in the  community.  The health personnel home-visit guideline and trained the health volunteers in conducting home visits for DM  patients with well-controlled blood glucose,no complications.  The health personnel conducted home visits for those with uncontrolled blood glucose and diabetes mellitus complications.  After implementing, elderly  patient with DM received better and more convenient health services and were satisfied with the new.  Home visits were offered to all patients.  The community had group exercise Conga  dance by the local administrative organization. Lastly, health personnel had a precise and comprehensive guideline to provide the diabetes mellitus health services.                  

Downloads