ประสิทธิผลของโปรแกรมการสื่อสารข้อมูลแก่ญาติผู้ป่วยวิกฤตต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยและการเผชิญความเครียด Effectiveness of Communication Program on Uncertainty in Illness and Coping Strategies in Family Members of Critical Ill Patients

ผู้แต่ง

  • พรพิไล บัวสำอางค์
  • วารินทร์ บินโฮเซ็น
  • น้ำอ้อย ภักดีวงศ์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการสื่อสารข้อมูลแก่ญาติผู้ป่วย ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย การเผชิญความเครียด Communication program for family members, Uncertainty in illness, Coping strategies

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบก่อนทดลอง หนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองเพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสื่อสารข้อมูลแก่ญาติผู้ป่วยวิกฤตต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยและการเผชิญความเครียด   โดยใช้ทฤษฎีความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของ Mishel  เป็นกรอบแนวคิด กลุ่มตัวอย่างคือญาติผู้ป่วยภาวะวิกฤตที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 34 ราย  ได้เข้าร่วมโปรแกรมการสื่อสารข้อมูลสำหรับญาติผู้ป่วยวิกฤตเป็นเวลา 5 วัน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย  แบบสัมภาษณ์การเผชิญความเครียดของญาติผู้ป่วยวิกฤตแบบมุ่งลดอารมณ์ตึงเครียดและบรรเทาปัญหา ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน แบบสัมภาษณ์ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย  แบบสัมภาษณ์การเผชิญความเครียดของญาติผู้ป่วยวิกฤตแบบมุ่งลดอารมณ์ตึงเครียดและบรรเทาปัญหา มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.77, 0.86 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย  สถิติ Paired t-test และ Wilcoxon signed rank test

   ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมสื่อสารข้อมูลแก่ญาติผู้ป่วยวิกฤตมีผลต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยและการเผชิญความเครียด   คะแนนความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของญาติผู้ป่วยวิกฤตหลังได้รับโปรแกรมการสื่อสารข้อมูล และคะแนนการเผชิญความเครียดของญาติผู้ป่วยวิกฤตต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.000, p =000ตามลำดับ)

ผลจากการวิจัยครั้งนี้สนับสนุนประสิทธิภาพของโปรแกรมการสื่อสารข้อมูลแก่ญาติผู้ป่วยวิกฤตเป็นประโยชน์ต่อการลดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของญาติผู้ป่วยวิกฤตและส่งเสริมให้ญาติมีวิธีการเผชิญความเครียดที่เหมาะสม

This pre-experimental pre-posttest one group study aimed to investigate the effectiveness of communication program to family members of critical patients on uncertainty in illness and coping strategies. The uncertainty in illness of Mishel was used as a conceptual framework to develop the program. The purposive sample of 34 persons was recruited for this study. Interventions were carried out during family members visiting critical ill patients for 5 days. The instruments comprised uncertainty in illness questionnaire and emotional and palliative coping strategies questionnaire. Content validity of the instrument was approved by 3 experts. Cronbach’s alpha reliability coefficient of uncertainty in illness questionnaire, emotional and palliative coping strategies questionnaire were 0.77, 0.86 and 0.82 respectively.  Descriptive statistics, paired t- test and Wilcoxon signed rank test were used to analyze the data.

                     The results showed that the communication program to family members had effected on uncertainty in illness and coping strategies of family members of critical ill patients. The uncertainty of illness scores and the coping strategies score were significantly lower than those of  before the  program (p =.000, p = .000). The results of this study support the effectiveness of communication program to family members of critical patients on diminishing uncertainty in illness and enhanced appropriate coping strategies.               

Downloads