สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ปิยนุช ภิญโย
  • เพชรไสว ลิ้มตระกูล

คำสำคัญ:

สถานการณ์ การดูแล โรคหลอดเลือดสมอง Situation, Care, Stroke

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยาย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนในตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและผู้ที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก2) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย (BI) และ3) แบบประเมินความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง (NIHSS) 4)ประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่ม และ5) แบบบันทึกการสังเกต  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ความถี่ ร้อยละ และข้อมูลคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า  ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย วัยสูงอายุ มีความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัวในด้านการออกกำลังกายและการทำกายภาพบำบัดในการฟื้นฟูสภาพด้วยตนเองน้อยและมีระดับ BI ในระดับเล็กน้อย ปานกลาง มากที่สุด และมาก ร้อยละ 65.4, 15.4, 15.4 และ 3.9 ตามลำดับและ ระดับ NIHSS ในระดับเล็กน้อย ปานกลาง มากที่สุด และมาก ร้อยละ 57.7, 23.1, 15.4 และ 3.9 ตามลำดับ  ผู้ดูแล อสม. และผู้นำชุมชน มีความรู้เกี่ยวกับโรคน้อย ไม่ทราบสถานการณ์การเกิดโรค  และมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยน้อย ผู้ดูแลไม่มั่นใจในการดูแลผู้ป่วย และ อสม.ต้องการฝึกทักษะในการทำกายภาพและเยี่ยมบ้านไม่ต่อเนื่อง เทศบาลขาดนโยบายในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน หน่วยงานบริการสุขภาพ ขาดนโยบายและแผนงานในการดูแลผู้ป่วยในชุมชน ไม่มีแนวทางการช่วยเหลือ มีการติดตามเยี่ยมบ้านไม่ต่อเนื่อง  ขาดการส่งเสริมการทำกายภาพบำบัดในผู้ป่วย ไม่มีฐานข้อมูลผู้ป่วย  การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง รพ.สต. และ รพ.ของรัฐ  และระบบการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยในส่วนของชุมชน และสถานบริการสุขภาพของรัฐ และไม่พบการร่วมจัดทำแผนงานโครงการ ออกแบบบริการ การดำเนินงาน และการประเมินผลร่วมกันกับผู้ป่วย ผู้ดูแล อสม. และองค์กรหน่วยงานในพื้นที่

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้คือปัญหาและความต้องการการดูแลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน ในแต่ละกลุ่มมีความต้องการการสนับสนุนการดูแลโดยการมีส่วนร่วมทั้งหน่วยบริการสุขภาพ ผู้นำชุมชน องค์กรชุมชน และหน่วยงานในพื้นที่

This descriptive research aimed to analyze the health care situations of the patients with stroke in the communities. The present study is a descriptive research study utilizing the Expanded Chronic Care Model (ECCM). The study locations were 13 villages in Khonkaen. The data providers included 1) 26 patients, 2) 24 caretakers, 3) 13 volunteers, 4) 1 nurse, 5) 1 director of a health promoting hospital (HPH), 6) 13 village heads,7)12members of the Municipal Council, and 8) 1 mayor. The data collection instruments consisted of 1) in-depth interview, 2) assessment form with Barthel Index (BI) of activities of daily living, 3) NIH Stroke Scale (NIHSS), 4) group discussion, and 5) observation records. Quantitative data were analyzed by using frequency and percentage. Qualitative data were analyzed with content analysis.

The results of analyzing the health care situations of the patients with stroke in the communities are provided below. Firstly, most patients were male aged 60 years or older, had medical golden cards, and had not received disability premiums. Almost all stroke patients had a low severity level and low dependency level of social support. Most caregivers were their family members. Some communities provided volunteers visiting their houses. The village heads were the ones managing the data regarding disability premiums and providing the premiums for the patients. The nurse was the one who following their problems and considering their demands. Tthe components of the health care situations of patients with expanded chronic diseases were analyzed and then provided the results as follows: 1) there was no specific policy for treating the patients with stroke, but only general policies for treating patients with chronic diseases; 2) there was no exercise equipment’s and physical therapies; 3) the volunteers and village heads had low participation in treating the patients; 4) the caretakers and volunteers had to learn physical therapies and raise their confidence in treating the patients by themselves because of the lack of treatment manual; 5)  the service providers did not have practical guidelines and manual; 6) there was no collaboration in  planning and implementing projects, and evaluating results with the patients, caretakers, volunteers, and local organizations; and 7) there were no patient database, data connection between the PHP and public hospitals, patient transfer system, and public health service centers.

Conclusion: Regarding the problems and demands of the patients with stroke, each group of the patients demanded for health care situations provided by the health service units, village heads, and community and local organizations.

Downloads