การวิจัยและพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดวิกฤตในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลราชบุรี Research and Development of Care System for Critical Congenital Heart Disease in Neonates at Ratchaburi Hospital

ผู้แต่ง

  • อนงค์ สุทธิพงษ์
  • อุบล แจ่มนาม

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดวิกฤตในทารกแรกเกิด Pulse oximeter Care development system, Critical Congenital Heart Disease in Neonates, Pulse oximeter

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดวิกฤต (Critical  congenital  heart  disease : CCHD) ในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลราชบุรี   การดำเนินการประกอบด้วยการวิเคราะห์ระบบเดิม  การพัฒนาระบบ และการประเมินผล โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2553 ถึง 30 กันยายน 2556 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยทารกแรกเกิดที่มารดามาคลอดที่โรงพยาบาลราชบุรี ที่ยังไม่มีอาการและอาการแสดงของโรค CCHD ในทารกแรกเกิด จำนวน 2,624 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรค CCHD ในทารกแรกเกิด จำนวน 35 คน   เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย (1) แบบบันทึกข้อมูลการดูแลผู้ป่วย  (2) แบบประเมินแรงจูงใจ ขวัญกำลังใจ และความพึงพอใจในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา และสถิติเพื่อการเปรียบเทียบ  

             ผลการวิจัยพบว่าระบบการดูแลผู้ป่วยโรค CCHD ในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลราชบุรี ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย  4 ประเด็นหลักคือปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิตและผลลัพธ์ และข้อมูลป้อนกลับ  ปัจจัยนำ เข้า ได้แก่ นโยบาย บุคลากร ระบบงาน  เครื่องมือ และปัจจัยสนับสนุนการดูแล   กระบวนการประกอบด้วย การวิเคราะห์สถานการณ์  พัฒนาและทดลองระบบ และประเมินผล   ผลผลิตคือได้คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรค CCHD ในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลราชบุรี  ผลลัพธ์ด้านผู้รับบริการได้แก่ ร้อยละการคัดกรอง ด้วย Pulse oximeter  จำนวนผลคัดกรองเป็นบวก จำนวนผลคัดกรองเป็นลบเทียมจากการแปลผลผิดพลาด จำนวนการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยา Prostaglandin E1 จำนวนการเสียชีวิตด้วยโรค CCHD ของทารกที่ได้รับการคัดกรองในช่วงเวลาก่อน และระหว่างการส่งต่อ  และผลลัพธ์ด้านผู้ให้บริการได้แก่  แรงจูงใจ  ขวัญกำลังใจ และความพึงพอใจในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ  ข้อมูลป้อนกลับได้แก่  การนำผลการพัฒนาแจ้งให้บุคลากรรับทราบ และใช้ในการวางแผนพัฒนาบุคลากร และพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย

            หลังทดลองใช้ระบบที่พัฒนาขึ้น พบว่าระบบดังกล่าวมีความเหมาะสมโดยส่งผลให้ความครอบคลุมของการคัดกรองเพื่อค้นหาโรค CCHD เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 72.4 เป็นร้อยละ 93.4   ดยที้อยละ ดคือต่อการใช้แนวทางช้แนวทางตาม คัดกรองทารกที่เป็นโรค CCHD ได้ 4 คน ไม่พบภาวะแทรกซ้อน และไม่มีทารกเสียชีวิตในช่วงเวลาก่อน และระหว่างการส่งต่อ   นอกจากนี้ยังพบว่า ค่าเฉลี่ยแรงจูงใจ ขวัญกำลังใจ และความพึงพอใจในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมในปี 2556 อยู่ที่ระดับมากและสูงกว่าปี 2555 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.75, p < .01)

 

This study aims to develop a care system for Critical Congenital Heart Disease (CCHD) in neonates at Ratchaburi Hospital. The methodology includes analysis of the existing system, development of a new system and evaluation of the system. The study was carried out during 1st October 2010 to 30th September 2013. The sample were 2,624  asymptomatic neonates born at Ratchaburi Hospital and 35 registered nurses providing care to CCHD in neonates. The tools used consist of 1) form on taking care CCHD in neonates and 2) evaluation form on motivation, support and satisfaction pertaining to the work of registered nurses. Descriptive statistics and inferential statistics were used for data analysis.

          The results reveal that the new system consists of 4 components which are input, process, output and feedback. The input is policy, personnel, tools and care support factors. The process includes situation analysis, development and testing the new system, and monitoring and evaluation. The outputs are the manual for caring Critical Congenital Heart Disease (CCHD) in neonates at Ratchaburi Hospital. Regarding the patients, outputs are the percent of neonates screened by Pulse oximeter, number of positive and false negative diagnosed, complications from receiving Prostaglandin E1, deaths from CCHD, screening before and during referral. Regarding service providers, motivation, support and work satisfaction of registered nurses were the outputs.  Personnel were informed about the new system which has been used for development of personnel and caring system.

              Evaluation of the new system shows that the coverage of screening increased from 72.4 % to 93.4 %  and 4 neonates were diagnosed CCHD,  there was no complication and no death occurred before and during referral. In addition, mean motivation, support and satisfaction in 2013 was found at a high level and relatively higher than that in 1012 statistically significantly (t = 2.75 , p < .01).  

Downloads