การพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลดำเนินสะดวก The Development of Capabilities to be a Specialty Nurse in Acute Coronary Syndrome Patients at Damnoensaduak Hospital

ผู้แต่ง

  • เกษร จั่นนาค
  • ลักคณา บุญมี

คำสำคัญ:

ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางการพยาบาล โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน PEEPA Framework การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ Capabilities to be a specialty nurse, acute coronary syndrome, PEEPA Framework, adult learning theor

บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันของพยาบาลวิชาชีพ ระดับชำนาญการขึ้นไป โดยใช้กรอบแนวคิด PEEPA ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ 28 คน และเป็นผู้ป่วย จำนวน 146 ราย ทำการศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม - ตุลาคม พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ โปรแกรมการพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะทางผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความรู้ ความสามารถการพยาบาลเฉพาะทางผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน แบบวัดสมรรถนะเฉพาะทางผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน แบบประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะทางผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่1 การวิเคราะห์สถานการณ์ โดยทำการวิเคราะห์ด้านระบบการให้การบริการ ด้านผู้ใช้บริการ และด้านการพยาบาล จากเวชระเบียนผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จำนวน 130 แฟ้ม ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ด้วยการจัดโปรแกรมการเรียนรู้ตามทฤษฏีการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ของโนลส์ แบ่งเป็น 6 ขั้นตอนคือ 1.การรับรู้ความจำเป็นที่จะเรียนรู้ (Work Shop, Value steam mapping) 2.การกำหนดมโนทัศน์ที่จะเรียนรู้ 3.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ (Focus group) 4.สร้างความพร้อมในการเรียนรู้ (Training) 5.การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง(PEPPA Framework, Role play, Simulation ) 6.การเสริมแรงจูงใจในการเรียนรู้ (Coaching) ขั้นตอนที่ 4 ติดตามประเมินผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ t- test     

            ผลการพัฒนา พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ความสามารถการพยาบาลเฉพาะทางผู้ป่วยโรคหัวใจขาด เลือดเฉียบพลัน และค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะเฉพาะทางผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ภายหลังได้รับการพัฒนามากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.00, 0.00) และพบว่าพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะทางผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันโดยรวมในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจเท่ากับ 42.14 ± 3.91 สำหรับ door to needle time, door to EKG และอัตรากลับรักษาซ้ำใน 28 วันลดลง ก่อนการพัฒนา 49.25 นาที, 19.76 นาที และร้อยละ 11.54 ตามลำดับ หลังการพัฒนา 30 นาที, 6.5 นาที และร้อยละ 6.25 ตามลำดับ ผลจากการศึกษาชี้แนะว่าควรสนับสนุนให้มีการพัฒนาสมรรถนะเฉพาะทางอย่างต่อเนื่องและมีการติดตามประเมินผลเป็นระยะๆ เช่น 6 เดือน 1 ปี 2 ปี            

This study was research and development. The purpose of this study was to develop of capabilities to be a specialty nurse in acute coronary syndrome patients by A Participatory Evidence Based Patient-Focused Process for Advance Practice Nursing (APN) Role Development, Implementation and Evaluation (PEEPA) Framework with adult learning theory. Data was collected from 146 patients and 28 nurses and conducted during March to October 2013 periods. The research instruments included program to develop of capabilities to be a specialty nurse in acute coronary syndrome patients, manual of nursing care in acute coronary syndrome patients and clinical practice guideline in acute coronary syndrome patients as  well  as  questionnaires  for  measuring using knowledge and capabilities of specialty nurse in acute coronary syndrome patients, the competencies of specialty nurse in acute coronary syndrome patients and satisfaction to PEEPA Framework by Adult learning theory evaluation. Data was analyzed using descriptive statistics of percentage, mean and    t-test.

The results of this study showed that knowledge and capabilities score of the nurses were significantly improve after training (p<0.05). The competencies of specialty nurse in acute coronary syndrome patients was significantly improve after training compared to during training (p <0.05). The satisfaction to PEEPA Framework by Adult learning theory was average satisfied (42.14 ± 3.91). In the nursing care outcome, door to EKG and hospital readmission within 28 days was significantly decreased after training (before: 49.25 minute, 19.76 minute and 11.54 percent vs after: 30 minute, 6.5 minute and 6.25 percent) (p<0.05). These findings suggest that the capabilities of the nurse to be a  specialty nurse in acute coronary syndrome patients should be continuous monitoring and training at intervals 6 months, 1 year and 2 years.

 

Downloads