การพัฒนาระบบประเมินการเรียนการสอนภาคปฏิบัติทางการพยาบาลตาม แนวคิดการประเมินที่ใช้ทฤษฎีเป็นฐาน The Development of an Evaluation System in Nursing Practicum Course Based on the Theory-Based Evaluation Approach

ผู้แต่ง

  • ปาริชาติ เทวพิทักษ์
  • สุนทรา โตบัว

คำสำคัญ:

การเรียนการสอนภาคปฏิบัติทางการพยาบาล การประเมินที่ใช้ทฤษฎีเป็นฐาน ระบบประเมิน Nursing practicum course, Theory-based evaluation, Evaluation system

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบการประเมินการเรียนการสอนภาคปฏิบัติทางการพยาบาลตามแนวคิดทฤษฎีเป็นฐาน  ทฤษฎีที่นำมาเป็นฐานประกอบด้วย ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์  ทฤษฎีมนุษยนิยม และแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนคือ 1) พัฒนาทฤษฎีโปรแกรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติทางการพยาบาล  2) พัฒนาระบบประเมิน  3) ทดลองใช้ระบบประเมิน  และ 4) ศึกษาประสิทธิภาพของระบบประเมิน  กลุ่มเป้าหมายในการทดลองใช้ระบบประเมินได้แก่นักศึกษาที่เรียนวิชาปฏิบัติการการพยาบาลมารดาและทารกจำนวน 63 คน อาจารย์ผู้สอน 8 คน จากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต  การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสนทนากลุ่ม สังเกต  สัมภาษณ์  สอบถามความคิดเห็น และทดสอบความรู้ของนักศึกษา สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ค่าสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล วิเคราะห์อิทธิพล  และวิเคราะห์เนื้อหา   ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ทฤษฎีโปรแกรมของการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาล ประกอบด้วย 1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ความพร้อมของนักศึกษา  คุณลักษณะของอาจารย์  ความพร้อมของแหล่งฝึก 2) การดำเนินการเรียนการสอน ได้แก่อาจารย์มีการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้  นักศึกษามีกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเอง การเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ การประเมินความก้าวหน้าและให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างสม่ำเสมอ  3) ผลผลิต ได้แก่นักศึกษามีความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลและคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง 4) กลไกเชิงสาเหตุของความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลคือการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้นักศึกษาปรับปรุงตนเอง

2. ระบบประเมินการเรียนการสอนภาคปฏิบัติทางการพยาบาล ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์การประเมิน  2) ทฤษฎีโปรแกรม 3) หลักการของระบบ 4) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมิน คู่มือการประเมิน  เกณฑ์การประเมิน  5) กระบวนการประเมิน ได้แก่การประเมินความพร้อมด้านปัจจัยพื้นฐาน  การประเมินความก้าวหน้า  และการประเมินสรุปผลรวม 6) ผลผลิต ได้แก่ผลการประเมินความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลและคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และ 7) การให้ข้อมูลย้อนกลับ ได้แก่การให้ข้อมูลย้อนกลับเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม 

3. ประสิทธิภาพของการใช้ระบบประเมินการเรียนการสอนภาคปฏิบัติทางการพยาบาลพบว่า ระบบมีมาตรฐานใน 4 ด้านดังนี้ 1) ด้านความเหมาะสม  คือมีการเปิดเผยข้อมูลเฉพาะที่จำเป็นแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  2) ด้านความเป็นประโยชน์ พบว่านักศึกษามีพัฒนาการในการปฏิบัติการพยาบาล  3) ด้านความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ พบว่าระบบนำไปปฏิบัติได้จริง อาจารย์และนักศึกษามีความเห็นว่ามีประโยชน์ทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง 4) ด้านความถูกต้อง พบว่าผลการประเมินมีความสอดคล้องกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษาโดยมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=0.852) และคะแนนความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลมีความสัมพันธ์กับผลการสอบความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=0.45)  

The main objective was to develop a system to evaluate nursing practicum course based on program theory.  The theories consisted of Constructivism theory, Humanist theory and Experiential learning.  The study was divided into  4 phases as follows: 1) Constructing a program theory of nursing practicum course.  2) Developing the evaluation system.  3) Implementation of the system.  4) Assessment of effectiveness of the system. The sample were taken by purposive sampling. The target group were 63 nursing students who register in Maternal and child practicum course and 8 instructors from school of nursing, Rangsit University. Data was collected by various methods: focus group, observation, interview, questionnaire, tests.  Descriptive statistics, Pearson product-moment correlation, point biserial correlation, path analysis and content analysis were conducted to analyze the data. The research results could be concluded that:

1.  The program theory of nursing practicum course consisted of : 1) Input factors consisted of: readiness of nursing students, characteristics of nursing instructors, and readiness of clinical setting. 2) Teaching and learning process consisted of: provided clinical experience, a self-directed learning process, a supportive atmosphere and regular formative evaluation and feedback. 3) Output factors consisted of: student’s clinical practice and self-directed characteristics. 4) The causal mechanism of students’ clinical practice ability was provided feedback data for self improvement.

2. The evaluation system in nursing practicum course consisted of: 1) Evaluation objective. 2) Program theory. 3) System principles. 4)  Input factors consisted of: evaluation instruments, evaluation system manual and absolute criteria. 5) Evaluation process consisted of: the evaluation of readiness of essential elements, formative evaluation and summative evaluation. 6) Outputs consisted of: recording results of students’ clinical practice and self-directed characteristics. 7) Feedback for individual and group. 

3.  The study found that the implementation of the evaluation system had effectiveness in 4 evaluation standards as follow: 1) Propriety standards: the pertinent findings could be a disclosure to the specific participant. 2) Utility standards: students had development in the clinical practice. 3) Feasibility standards: the system was practicable in nursing practicum course. Instructors and students agreed that the system had advantage for self-improvement. 4) Accuracy standards: The results from statistic analysis indicated that evaluation results between instructors and students correlated in positive way with statistical significant at .05 (r=0.852). There were also positive relationships between the students’ clinical practice scores and Nursing licensing exam results with statistical significant at .01 (r=0.45).

Downloads