https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/issue/feed วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2024-04-11T10:30:12+07:00 รองศาสตราจารย์ ดร. จันทร์ทิรา เจียรณัย [email protected] Open Journal Systems <p><strong>วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ </strong></p> <p><strong>Journal of Nursing and Therapeutic Care</strong></p> <p><strong><span class="font-weight-bold" data-v-4fadc455="">ISSN:</span> 2985-1432 (Online)</strong></p> <p>วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ชื่อเดิม: วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ</p> <p>วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ เป็นของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางของบุคลากรวิชาชีพการพยาบาลฯ การดูแลสุขภาพ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการส่งเสริมเผยแพร่ความรู้และแนวปฏิบัติจากงานวิจัย บทความวิชาการ และบทความอื่นๆที่น่าสนใจ <strong>เพื่อเพิ่มพูนความเข้มแข็งทางวิชาชีพการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ</strong> ดังนั้นจึงใคร่ขอเชิญชวนให้พยาบาลทุกท่านและผู้ที่เกี่ยวข้องที่สนใจส่งบทความมาเผยแพร่ในวารสารนี้ กองบรรณาธิการยินดีรับเรื่องที่ท่านส่งมาและยินดีสรรหาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ท่านเขียน มาให้ข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงต้นฉบับให้ได้คุณภาพอย่างสมบูรณ์แบบ</p> <p>ตีพิมพ์ปีละ 4 ฉบับ ทุก ๆ 3 เดือน</p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม</p> <p>ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน</p> <p>ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน</p> <p>ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม</p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/269343 ผลการใช้โปรแกรมอบอุ่นร่างกายต่ออุณหภูมิแกนกลางและภาวะหนาวสั่นในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวชโดยได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง โรงพยาบาลอุดรธานี 2024-03-11T15:57:21+07:00 จิตราวดี ศรีศักดิ์ [email protected] <p>การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการใช้โปรแกรมอบอุ่นร่างกายต่ออุณหภูมิแกนกลางและภาวะหนาวสั่นเก็บข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวช โดยได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ที่หน่วยงานวิสัญญีโรงพยาบาลอุดรธานี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 29 ราย โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการอบอุ่นร่างกายด้วยผ้าห่มเป่าลมอุ่นร่วมกับการอุ่นสายน้ำเกลือ ตั้งแต่ระยะก่อนผ่าตัดจนถึงระยะหลังผ่าตัดส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการอบอุ่นร่างกายในระยะก่อนผ่าตัดด้วยผ้าห่มขนหนูสำหรับผู้ป่วย ระยะผ่าตัดและหลังผ่าตัดใช้ผ้าห่มเป่าลมอุ่นให้สารน้ำอุณหภูมิห้องตลอดการผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมอบอุ่นร่างกาย ที่ผู้วิจัยประยุกต์จากโปรแกรมอบอุ่นร่างกายของสาธร หมื่นสกุล และแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการผ่าตัด การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและ ข้อมูลการผ่าตัดโดยใช้สถิติ พรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างของอุณหภูมิแกนและภาวะหนาวสั่นระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วย Mann Whitney U test และ สถิติ Independent t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 44.90 และ 44.76 ปี ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย 22.21 และ 22.83 ระยะเวลาผ่าตัดเฉลี่ย 72.28 และ 72.31 นาที ปริมาณสารน้ำเฉลี่ย 898.10 และ 899.97 ปริมาณการเสียเลือดเฉลี่ย 121.48 และ 122.00 มิลลิลิตร ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าระหว่างผ่าตัดอุณหภูมิแกนของกลุ่มทดลอง (36.70 องศาเซลเซียส) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (36.40 องศาเซลเซียส) และเมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าอุณหภูมิแกนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มทดลองมีคะแนนภาวะหนาวสั่นเฉลี่ยน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ <em>p &lt;</em> .05 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมอบอุ่นร่างกายมีประสิทธิภาพในการป้องกันภาวะหนาวสั่นในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง จึงควรประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดอื่นต่อไป</p> 2024-04-11T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ