การตัดสินการพูดภาษาอังกฤษของผู้พูดชาวไทยโดยเจ้าของภาษา

Main Article Content

ปริชาติ สุทธิเจษฎาโรจน์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการด้วยกัน ได้แก่ เพื่อเปรียบเทียบระดับสำเนียงต่างประเทศระหว่างการพูดวัจนลีลาที่เป็นทางการน้อยกับวัจนลีลาที่เป็นทางการมาก และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินการพูดภาษาอังกฤษ ผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ฟังเจ้าของภาษาอังกฤษจำนวน 20 คน ออกเป็น 4 กลุ่ม ตามปัจจัยการเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ – ไม่ได้เป็นครูสอนภาษาอังกฤษ และการได้คลุกคลีอยู่กับการพูดภาษาอังกฤษของชาวไทยมาก – น้อย ผู้ฟังตัดสินการพูดภาษาอังกฤษจำนวน 44 ถ้อยความที่พูดโดยผู้พูดชาวไทยจำนวน 10 คน และชาวอเมริกัน 1 คน โดยถ้อยความที่พูดจะเป็นถ้อยความที่ได้จากการตอบคำถามจากภาพแทนวัจนลีลาที่เป็นทางการน้อย และถ้อยความที่ได้จากการอ่านแทนวัจนลีลาที่เป็นทางการมาก ผลการศึกษาในประเด็นของวัจนลีลานั้น ผลของการจัดระดับสำเนียงต่างประเทศทำให้เห็นว่า การพูดในแบบวัจนลีลาที่เป็นทางการมาก และเป็นทางการน้อยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยด้านตัวผู้ฟังต่อการตัดสินการพูด พบว่า การตัดสินมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ผู้ฟังแต่ละกลุ่มตัดสินได้น่าเชื่อถือพอกัน ดังนั้น การได้คลุกคลีอยู่กับการพูดภาษาอังกฤษของไทย และการเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ไม่ได้มีอิทธิพลต่อความน่าเชื่อถือในการตัดสินการพูด ผลการศึกษาในครั้งนี้ สนับสนุนแนวคิดที่ว่า ลักษณะการออกเสียงหรือสัทลักษณะของเสียงผู้พูดเองที่เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินระดับสำเนียงต่างประเทศ

 

Abstract

This research has two aims; to compare the degrees of Thai speakers’ English accent between formal and informal styles, and to investigate factors that could affect reliability in the accentedness judgment. Participants were twenty native English-speaking listeners, divided into four groups; (1) English teachers with high exposure to English accent of Thai, (2) English teachers with low exposure to English accent of Thai, (3) non-English teachers with high exposure to English accent of Thai, and (4) non-English teachers with low exposure to English accent of Thai. They rated forty-four English utterances spoken by ten Thais and one American. The utterances were divided into formal and informal styles. The results show that the degrees of foreign accents in formal and informal speech styles are not statistically significant. The results show slight differences of assessing the degrees of foreign accent. However, standard deviation shows similarities across groups, suggesting that the amount of exposure to English accent of Thai and English teaching/non – teaching career do not strongly affect reliability of their ratings of foreign accents. These findings support the view that phonetic properties of the speech itself are important factors in assessing accentedness.

Article Details

How to Cite
สุทธิเจษฎาโรจน์ ป. (2013). การตัดสินการพูดภาษาอังกฤษของผู้พูดชาวไทยโดยเจ้าของภาษา. Language and Linguistics, 31(2), 72–90. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/joling/article/view/10772
Section
Articles