การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการให้บริการออนไลน์ ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Main Article Content

ศัชชญาส์ ดวงจันทร์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการให้บริการออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญอาจารย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่มีต่อระบบที่พัฒนาขึ้นกับความสอดคล้องและการนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ในสังคม และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลเพื่อการให้บริการออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประชากร ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา และ ผู้ใช้บริการผ่านระบบการให้บริการออนไลน์ของศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 4 คน อาจารย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 4 คน กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามเพื่อศึกษาความต้องการระบบ จำนวน 122 คน และผู้ใช้บริการผ่านระบบการให้บริการออนไลน์ของศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา จำนวน 151 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามปลายเปิดสอบถามความคิดเห็นและความต้องการบริการออนไลน์ของศูนย์นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ (2) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อระบบที่พัฒนาขึ้นกับความสอดคล้องและการนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ในสังคม และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ที่มีต่อระบบที่พัฒนาขึ้นเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความต้องการแบบปลายเปิดในการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามตามแนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการเข้าใช้ระบบที่พัฒนาขึ้น

ผลการศึกษาพบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นเป็นการให้บริการในรูปแบบของศูนย์กลางเก็บรวบรวมแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ มีการให้บริการใน 5 ด้านหลัก ได้แก่ การเข้าถึงฟรีแวร์ หนังสือออนไลน์ วิทยุออนไลน์ อีเลิร์นนิง สื่อการสอนออนไลน์และ เว็บไซต์แหล่งความรู้ที่แนะนำ ผลการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญพบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านสื่อวิทยุออนไลน์ที่จัดทำขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งผู้สอนอาจมอบหมายงานหนึ่งแล้วให้หาข้อมูลจากวิทยุออนไลน์ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาผู้บกพร่องทางการได้ยิน ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บในระบบ เช่น จำนวนผู้ใช้งาน ความถี่ในการเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ช่วงเวลาในการเข้าใช้บริการ สื่อหรือบริการที่เป็นที่นิยมและมีความต้องการมาก เป็นต้น สามารถนำมาต่อยอดสู่การวางแผนกลยุทธ์และนโยบายของศูนย์นวัตกรรมการศึกษา การจัดสรรงบประมาณในการผลิตสื่อนวัตกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ และจากการสอบถามผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลการให้บริการออนไลน์ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต พบว่า มีความพึงพอใจต่อระบบที่พัฒนาขึ้นในระดับมากโดยผู้ใช้มีความพึงพอใจมากที่สุดต่อระบบฐานข้อมูลเพื่อการให้บริการออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นจนสามารถเป็นแหล่งการเรียนรู้ มีความหลากหลายและส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองได้


The Database System Development for Online Services of the Innovation Center, Suan Dusit University

The purposes of this research were to develop database for website online service of Innovative Learning Center for Development, Suan Dusit University, to examine the opinion of experts, professors and staff of Innovative Learning Center for Development, Suan Dusit University on the developed system and the consistency leading to the utilization of social learning promotion and to study the database users’ satisfaction with the website online service of Innovative Learning Center for Development, Suan Dusit University. Population was the staff and the online service users of Innovative Learning Center for Development. Sample group was four experts, four professors and staff of Innovative Learning Center for Development, Faculty of Education, Suan Dusit University, 122 respondents of questionnaire on system requirement and 151 online service users of Innovative Learning Center for Development. Research instruments consisted of open-ended questionnaire on opinion and requirement for online service of Innovative Learning Center, interview form for the opinion of experts on the developed system and the consistency leading to the utilization of social learning promotion and questionnaire about the opinion of users on the developed system. Data was collected using open-ended questionnaire on the requirement in the sample group interview, interview form for opinion of the experts and the interview form for the satisfaction with the access to developed system.

The system was advanced to serve as the center for educational resources with five major schemes, namely, freeware, e-books, e-Learning, CAI (Computer Assisted Instruction), and the website of recommended educational resources. According to interviews with the experts, the improved system could be applied in class, especially e-Learning, which was clearly set up. A lecturer might assign a task to students and tell them to search for information using e-Learning, which is an extremely useful resource for those with hearing disorders. Also, the collected data in the system such as the quantity of users, the frequency of access to educational resources, the periods of service consumption, and the most popular media or services among users, etc. can be further analyzed for planning strategies as well as the policies of the Innovation Center, and allocating the budget for innovative media production in order to meet users’ demands. In addition, the findings from the interviews with the users of the database system for online services of the Innovation Center, Suan Dusit University, indicated the high level of satisfaction with the developed system. To clarify, the users were most satisfied that such a progressive system could provide them with various educational resources and encourage self-directed learning.

Article Details

How to Cite
ดวงจันทร์ ศ. (2016). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการให้บริการออนไลน์ ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 9(2), 1–10. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/82062
Section
Research Manuscript