ผลของโครงการคนไทยไร้พุงต่อการลดค่าดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอว ของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง

Authors

  • ถาวร มาต้น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ปัทมา สุพรรณกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

ดัชนีมวลกาย, ขนาดรอบเอว, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, ความรู้, พฤติกรรมการปฏิบัติ, โครงการคนไทยไร้พุง, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, body mass index, waist circum­ference, health promotion beha-vior, knowledge, behavioral prac­tice, Thais without Big Belly Proj

Abstract

บทคัดย่อ

ความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลให้เกิด โรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้หลายโรค การวิจัยครั้งนี้เป็นการ วิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มเดียววัดผลสองครั้งก่อนและหลัง เพื่อศึกษาระดับความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการ ส่งเสริมสุขภาพ และผลของโครงการคนไทยไร้พุง ที่ดำเนินการโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มารับบริการด้านการส่งเสริม สุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3 แห่ง จำนวน 300 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และให้การอบรมโปรแกรมกิจกรรม 3 อ. 1 วัน ผลการวิจัย พบว่า กิจกรรม 3 อ. ของโครงการฯ มีผลทำให้กลุ่มทดลองส่วนใหญ่มีความรู้และการปฏิบัติ ในเรื่อง การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และ การป้องกันโรคดีขึ้นกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < 0.001) ส่วนความรู้ และการปฏิบัติ ในเรื่อง การจัดการความเครียด ก่อนและหลังการ อบรม ไม่มีความแตกต่างกัน (p = 0.497 และ 0.072 ตามลำดับ) ค่า BMI ของกลุ่มทดลอง ก่อนและหลัง การอบรมพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน (p = 0.127) ส่วนขนาดรอบเอว มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < 0.001) ดังนั้น บุคลากรสาธารณสุข จึงควรให้ความรู้ และเทคนิคการจัดการความเครียด แก่กลุ่มที่มีน้ำหนักเกินให้มากขึ้น เพราะกลุ่มนี้มักจะ มีปัญหาความเครียดร่วมด้วย

คำสำคัญ: ดัชนีมวลกาย; ขนาดรอบเอว; พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ; ความรู้; พฤติกรรมการปฏิบัติ; โครงการคนไทยไร้พุง; โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

 

ABSTRACT

Obesity is a major risk factor for many chronic non-communicable diseases. The purposes of this quasi-experimental research were to study the level of knowledge and behaviors of practicing toward health promotion and the effectiveness of the project operated by Tambon health promotion hospital in the region. Three hundred participants were attended the health promotion services at three Tambon health promotion hospitals. Data were collected by interview questionnaire and offered a one-day training course on 3-Or activity program.

The results showed that 3-Or activity program of the Thais without Big Belly Project was effective for the majority of experimental group, their levels of knowledge and behaviors on food consumption, exercise, and disease prevention were significantly better than before the training (p < 0.001); their knowledge and behaviors on stress management before and after training were not significantly different (p = 0.497 and 0.072, respectively); and their BMI before and after training was not signifi­cantly different (p = 0.127), but the difference in waist circumference was significant (p < 0.001).

Therefore, health personnel should provide more knowledge and stress management techniques to such overweight group because this group had also stress due to overweight.

Key words: body mass index; waist circum­ference; health promotion beha-vior; knowledge; behavioral prac­tice; Thais without Big Belly Project; tambon health promo-ting hospital

Downloads

Issue

Section

Original Articles